ประวัติศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จ.ขอนแก่น

ประวัติความเป็นมาของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จ.ขอนแก่น

 

นรินทร์  จริโมภาส

 

            จากการที่ผู้เขียนได้เฝ้าติดตามดูความเจริญเติบโตของศูนย์ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ต้น และได้ประเมินสถิติออกมาตามลำดับ ทำให้พบว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องรวดเร็วมาก ทั้งด้านการก่อสร้างอาคารสถานที่ ที่ดิน สิ่งอำนวยความสะดวก และที่สำคัญที่สุดคือด้านการอบรมพัฒนาจิต ที่มีทั้งข้าราชการ  นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเข้ามาปฏิบัติธรรมในที่แห่งนี้  ทำให้ตารางการอบรมพัฒนาจิตเต็มแน่นตลอดทั้งปี ในบางช่วงต้องรับอบรมคราวละหลายๆคณะรวมกัน และถ้ามองจากสถิติจะเห็นถึงความต้องการที่จะเข้ามาอบรมมากขึ้นๆ เพราะคณะที่เคยเข้ามาอบรมแล้ว ยังคงมีความประสงค์จะขอเข้ามาปฏิบัติอีกและยังเพิ่มจำนวนขึ้นอีกด้วย ส่วนคณะใหม่ๆที่อยากเข้ามาปฏิบัติก็ยังมีอีกมาก จนทำให้ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันต้องขยายงานต่างๆของศูนย์เพื่อรองรับคณะอบรมที่มีความประสงค์จะเข้ามาอบรมพัฒนาจิตมากขึ้นทุกปี

            อีกประการหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเขียนบทความนี้ขึ้น เพราะสังเกตจากญาติโยมที่เฝ้าถามพระเดชหลวงพ่อว่า ทำไมท่านต้องมาสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นสาขาของท่านถึงที่จังหวัดขอนแก่น และทำไมท่านต้องทุ่มเททั้งกาย แรงใจ และแรงปัจจัยเป็นจำนวนมากเพื่อพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้  ซึ่งทำให้ในช่วงปีแรกๆของการสร้างศูนย์ (.. ๒๕๓๖ - .. ๒๕๓๙) ต่างมีเสียงคัดค้าน และสงสัยมากพอสมควร เพราะไม่เข้าใจว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อจะสร้างและขยายศูนย์ปฏิบัติธรรมให้ใหญ่โตไปทำไม

            แต่มาบัดนี้ญาติโยมทุกคนเข้าใจแล้วว่าทำไม ซึ่งหากท่านผู้อ่านท่านดังยังมีความสงสัยว่าทำไม ก็ขอเชิญชวนให้ท่านมายังศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น หรือติดตามบทความบทนี้ ที่สามารถให้คำตอบแก่ทุกท่านได้ว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมโม) ต้องมาสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น

 เจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

                พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เล่าถึงเจตนารมณ์ของท่านไว้อย่างชัดเจนในการประชุมคณะกรรมการโครงการก่อสร้างศาลา๗๒ปีฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่๒๒มีนาคม.. ๒๕๔๔ถึงทำให้กรรมการทุกคนในที่นั้นต่างทราบถึงเจตนารมณ์และความเพียรพยายามของพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่จะนำของดีคืนสู่จังหวัดขอนแก่นโดยการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันแห่งนี้ไว้เพื่อพัฒนาจิตให้กับประชาชนและเยาวชนของชาติ  ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้เล่าถึงประวัติและเจตนารมณ์ของท่านไว้ดังนี้

อาตมาเคยมาได้ของดีที่จังหวัดขอนแก่นนี่ท่านทั้งหลายทราบดีจึงพยายามตั้งใจอยู่ตลอดจนชีวิตจะหาไม่เราต้องตายไปหนึ่งครั้งแล้วเรารอดตายมาได้ถ้าไม่มาที่นี่แล้วเราต้องตายที่เมืองพม่ามันดาเลย์เมืองหงสาวดีที่หลวงพ่อดำพาเราไปเดินธุดงค์ต้องตายแน่อันนี้ทำให้เรามั่นใจซึ้งใจคือหลวงพ่อดำองค์ที่ให้กรรมฐานพระเจ้ากรุงธนบุรี  พี่น้องทุกคนอาจยังไม่ทราบว่าเราต้องสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

 เรื่องเชื่อมโยงมาจากหลวงพ่อเดิมพูดมาหลายครั้งแต่ต้องย้ำอีกหนให้ท่านทราบ  พี่น้องทุกคนอย่าคิดว่ารู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามอย่าเข้าใจผิดไม่ได้ผลคนไม่ได้คิดจะไม่มีสติปัญญาจะไร้เหตุผลเมื่อเรากลับมาจากมันดาเรเมืองหงสาวดีแล้วก็มาเจอเครื่องบินจะตกที่ยุโรปเราก็รอดตายมาได้เพราะเหตุใดรอดจากคอหักตายรถชนตายเพราะเหตุใดเมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วก็คิดได้ว่าหลวงพ่อดำเนี่ยบางคนก็บอกว่าเป็นหลวงพ่อโลกอุดรหลวงพ่อถ้ำวัวแดงเนี่ยไม่ใช่ทั้งนั้น  ท่านทั้งหลายอย่าลืมที่น้ำพองท่านพาอาตมาไปได้รับของดีมาจากขอนแก่นหลากหายเชื่อมโยงมาจากหลวงพ่อเดิมอีกทีหลังจากที่เราคอหักแล้วเราก็คิดว่าเราตายไปแล้วเรายังไม่เคยสนองพระเดชพระคุณหลวงพ่อดำให้เป็นชิ้นเป็นอันเป็นหลักเป็นฐานแต่ประการใดจากที่ท่านให้คติธรรมเตือนใจว่าโปรดทำตามพระพุทธเจ้าว่าสร้างคนดีกว่าสร้างวัตถุสร้างคนให้มีความรู้สร้างคนให้มีความดีมีสติปัญญาเราก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่าทำอย่างไรเราถึงจะสนองพระเดชพระคุณหลวงพ่อดำได้

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร สัญลักษณ์ของคนดีมีปัญญา คือกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณสูงสุดหามิได้  ก็ขอรวบรัดตัดใจความ ก็ปรากฏว่ามาได้สถานที่นี้ ทำให้ของพ่อดำท่านดลบันดาล  สถานที่นี้เป็นมหาขุมทรัพย์ เป็นถ้ำพญานาค ใครไม่มีบุญเข้ามาไม่ได้ ร้อนอกร้อนใจเหมือนยักษ์ถูกไฟลวก ไม่ได้ เลยก็พอดีนะ จะหาที่ตรงน้ำพองก็ไม่ได้  ก็พอดีจากการดลบันดาลของหลวงพ่อดำ  ได้บอกอาตมาว่า มีชื่อ ดร.ลำใย อยู่จึงจะใช่สถานที่นี้  เสร็จแล้วอาจารย์บุญส่ง เป็นหมอดู ก็ติดต่อ ดร.ลำใย ก็รู้ว่ามีจิตใจศรัทธาเลื่อมใส แต่ก็ไม่ทราบว่าเลื่อมใสแค่ไหน  ก็ขอถวายที่ประเมินประมาณ ๒๒ ไร่ ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๓๖  ก็เอาโต๊ะมาขึงเข้าโต๊ะหนึ่ง  ฟ้าเปรี้ยง เบื้องล่างพญานาคขึ้นมา ซูง้อยังอยู่เป็นพยานได้ รุ้งกินน้ำไปสู่หนองคาย รุ้งอันนี้สำคัญ คล้ายรุ้งพญานาคที่จะต้องเหาะเหินเดินอากาศได้ ประกาศเทพเจ้าให้ทราบโดยทั่วกัน เปรี้ยงๆๆ สามเปรี้ยงด้วยกัน เราก็มาเขียนลงในหนังสือของเราไว้ว่า พ.. ๒๕๓๗๓๘….๓๙ ก็จะเสร็จพออบรมได้ของศูนย์นี้ 

พี่น้องญาติธรรมทุกคน ที่เราได้มาเจอกันทุกคนสมัครสมาน อาตมาก็ตั้งใจมาก แล้วตรงนี้เมืองลับแล คนที่ไม่เชื่อก็คือคนที่ไม่รู้ เพราะรู้จริงถึงจะเชื่อ อย่างที่อาตมาพูดให้โยมทั้งหลายได้ฟังว่า รู้จริงนั้นหายาก รู้มากนั้นหาง่าย มันก็เกิดได้ อาตมาก็ไม่ลดละ พยายามทำต่อไป เพราะรู้ว่าเดี๋ยวก็มีคนมาช่วยเรา  ทั้งๆที่งานเรามากมายเหลือเกิน ทั้งที่เราตายก็ตายไปถึงสามครั้ง ครั้งที่คอหัก ครั้งที่พม่า กับครั้งที่เครื่องบินจะตก แต่ผลสุดท้ายก็ทำได้ ใครมีบุญวาสนาแต่เมื่อครั้งอดีตชาติก็ขอให้เข้ามา ลุล่วงลงตามนี้ ก็มีมาเรื่อยๆ กระทั้งทั้ศาลาเล็กๆ คนไม่ค่อยมาก พยายามขยายที่มาตามลำดับ จึงสร้างศาลาใหญ่ขึ้นคือหลังปัจจุบันนะ ก็สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ทุกคนไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร  บางคนก็สงสัยว่ามาสร้างไว้เพื่ออะไร  ทำไมต้องมาสร้างที่นี่  ไปสร้างที่อื่นไม่ได้หรือ อาตมานิ่งไม่พูดไม่ตอบ เพราะตอบไปเขาไม่รู้เรื่อง เขาไม่ทราบ เขาไม่เข้าใจ แล้วอาตมาก็มาพิจารณา กุฎิที่อาตมาอยู่เป็นหลังแรก ที่ใกล้กับปะรำ  มีเต้นขึงกับที่ถวายที่ในวันนั้น เริ่มต้นอาจารย์บุญส่งก็มาตามลำดับ บางคนก็หายสาบสูญไปเลย ไม่ทราบว่าไปเหนือมาใต้แต่ประการใด แต่เราก็ยังนึกถึงบุญคุณ เดี๋ยวเหตุการก็ผันผวนเหตุการผ่านไป  ก็เลยมีคนเข้ามาช่วยสร้างกุฏิเป็นหลังที่สอง ที่อาตมามาพักอยู่ปัจจุบัน

จากนั้นได้ซื้อที่ขยายที่ต่อกันไป ได้อธิฐานไว้ว่า ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ได้สมปรารถนา มันก็เป็นไปได้ ต่อมาอาตมาสังเกตว่า มางานกฐินทีญาติโยมก็ตากแดดกัน เอาเต้นต์ขึงเข้า ร้อนจะตาย ก็อุตส่าห์มานั่ง เพราะขึ้นไม่ทันคนข้างบน ไอ้คนขี้น ขึ้นไปก็ไปขวางที่ นั่งกันเต็มหมดเลย พญานาคจะขึ้นไปยังหาที่ไม่ได้ ก็ต้องนั่งกำแดดอยู่ข้างศาลา เราเห็นเลย ก็คิดอยู่มาตลอดสามปี จะทำอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร จะใช้เครื่องขยายเสียงเขาก็ไม่เห็นหน้าเห็นตา ยังไม่ทันทำบุญก็กลับเลย เพราะคนแน่นขึ้นไม่ได้ คนที่ขึ้นไม่ได้ทำบุญหรอก มาโมทนา ถึงไม่ได้ออกเงิน ก็มาทำบุญด้วยกัน ก็คิดแก้ปัญหาว่าจะแก้ไขอย่างไร เรามีเจตนาที่จะมาสร้างความดีที่นี่ เพราะที่น้ำพองนั้นหาที่ไม่ได้ ที่ไม่เหมาะสม ก็มาเหมาะสมตรงนี้ เขาเรียกว่าเนินนพวรรณ เป็นเนินมหาขุมทรัพย์ สำหรับผู้มีบุญ  ขุมทรัพย์คือคุณสมบัติของชีวิต ไม่ใช่เงินไหลนองทองไหลมา เราต้องการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากทุกข์ สามารถแก้ไขปัญหาชีวิต สมกับสถานการบ้านเมืองที่แย่ลงไป ด้วยการติดยาบ้า  เราจะเห็นนักเรียนทุกวันนี้ ขนาดลูกนายพลนะยังติดยาบ้า ลูกซีเก้าซีสิบ ม.  ตามเขาไปยังไม่กลับเลย มีปัญหาแม่เป็นถึงครูยังไม่มีเวลาดูแลลูกเลย ข้อนี้เป็นปัญหามาก แต่รัฐบาลก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้

           

เจตนารมณ์ในการที่จะสร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหญ่

อาตมาคิดว่าในชีวิตบั้นปลายของเรานี่อยากจะสร้างศาลา แต่ไม่รู้ว่าศาลาหลังใหญ่เท่าไหน  ก็สวดมนต์ไหว้พระไป ก็แล้วแต่ท่านคณาจารย์จะออกแบบ ก็ออกแบบมาได้สวยงามตามที่เราคิดอย่างนั้น แต่อย่าคิดมากน่ะ สวยอย่างไรก็ต้องมีคนติ ดูอย่างพระพุทธรูปสวยจะตาย ก็ยังมีคนติว่าปากแบะ เพราะไอ้คนที่ดูมันปากแบะ ดูพระพุทธรูปก็ปากแบะไปหมด พระพุทธรูปเขาทำสวยยังโดนตำหนิอีกเหรอ 

แต่ศูนย์ของเราทำได้มีระบบมีระเบียบเรียบร้อย จอดรถได้เป็นพันๆคัน ที่วัดอัมพวันจอดได้ไม่กี่คันก็เต็ม ก็ที่มันแค่สามสิบเอ็ดไร่กว่า แต่นี่ปาเข้าไปตั้งร้อยกว่าไร่ อาตมาก็คิดกาลไกลว่าต้องสร้างแน่ศาลาหลังนี้  หลังคาก็มีหลายชั้นสวยงามเหมือนคนออกแบบ แบบอย่างนี้ไม่เคยเห็นเลย พอเห็นแล้วอาตมาดีใจมากนอนไม่หลับไปเจ็ดวัน ได้ศาลาที่ถูกใจ แล้วดีใจมากที่สุดฉันข้าวไม่ได้ไปอีกเจ็ดวัน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะจะมีผู้ดีมีปัญญามาช่วยเรา มีแต่คนจะมาช่วย ทำให้เราตื้นตัน  แล้วศาลานี่จะเสร็จไหม เสร็จเพราะอะไร เพราะทำจึงจะเสร็จไม่ทำแล้วจะเสร็จได้อย่างไร เราอธิษฐาน อยู่ๆก็โผล่มาคนละหนึบคนละหนับ เริ่มทอดกฐิน ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ตอนที่อาจารย์ถาวร ดร. ลำใย อ่านประกาศถวายที่ พญานาคขึ้นมาตรงนี้ แต่เป็นคน อาตมายังจำภาพได้เลยว่า จมูกแดงหูแดง ใส่เสื้อบางมีสังวาลย์ อาตมาก็ถามพวกเราว่า เป็นใคร เมื่อตะกี๊ไม่เห็น แต่รุ่งกินน้ำเหมื่อนเมื่อวันวางศิลาฤกษ์ เหมือนกันอย่างนั้น ตรงไปหนองคายเลย จากตรงนั้นมุ่งตรงไปหนองคายเลย และพอวันงานกฐินปุ๊บ สองคนผัวเมียมากันเลย เอาเงินมาทำบุญแต่ไม่รู้เท่าไหร่ ก็ให้คนไปหามาไปถ่ายรูปมาให้ได้ ก็หาไม่เจอ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เทพหทัยทั่วแหล่งหล้าอนุโมทนา ก็ขอฝากไว้ว่าทำดีร้อนถึงจักรินทร์เทวราช อย่างที่ท่านทราบกันดีว่า มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวหัสนัยไตรตรึงศา ทิพยอาสน์เอยอ่อนแต่ก่อนมา กับกระด้างดังศิลาน่าประหลาดใจ จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน  อัมรินทร์เล่งพินิจพิศสงสัย จึงส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย อ๋อนึกว่าอะไรหรือ จะสร้างศาลากัน จึงส่งคนมาช่วย วาสุเทพจัดการทันที ไปเนรมิตศาลาให้ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ให้เสร็จทันเวลา ร้อนถึงพญานาคา มาจะกล่าวบทไปไงเล่า

เพราะฉะนั้นคนนี้โผล่ คนนี้โผล่ ตั้งแต่เราคิดได้ ใครที่จะเป็นญาติ อย่างที่หลวงพ่อดำบอกว่า ดร.ลำใย  ต้องมาที่ตรงนี้ และรพช.ก็มาทำถนน แล้วก็นำไฟฟ้าเข้ามา ทำให้มีคนมาทำประปาให้อีก คนโน้นโผล่ คนนี้โผล่เห็นไหม ถ้าเราไร้บุญวาสนาขอประทานโทษไม่มีคนมาช่วย ทุกอย่างในโลกนี่เงินทองไม่สำคัญ ช่วยให้เราสำเร็จไม่ได้ เงินทองให้ความสะดวกได้ แต่ช่วยให้เรามีความสุขไม่ได้ ให้สะดวกซื้อรถ ซื้อบ้านได้ แต่ความสำเร็จของชีวิต ไม่ได้อยู่ที่เงินทองแต่ประการใด แต่อยู่ที่เราตั้งใจหรือไม่ แล้วสนใจศรัทธาในโครงการนี้หรือเปล่า  ดังนั้นคนที่มาช่วยเราก็มากันเรื่อยๆ เดี๋ยวสมเด็จโต เดี๋ยวพระพุทธชินราช เดี๋ยวเจ้าแม่กวนอิมก็มาแล้ว เห็นไหม กระทั่งที่ไม่นึกใฝ่ฝัน แต่ความฝันก็เป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ณ บัดนี้ เครื่องมือเครื่องใช้ไม้สอย ใช้อย่างมีระบบมีระเบียบ แต่ที่วัดอัมพวันใช้กันอย่างไม่มีระบบ เพราะเรานี่ทำงานคนเดียว ตีหนึ่ง ตีสองก็ต้องทำงาน เขานอนกันแล้วเราก็ต้องทำงาน แต่ที่เราคนเดียวทำสำเร็จเพราะเราถือคติที่ว่า ไม่เสร็จไม่นอน ไม่เสร็จไม่กินข้าว มันกังวล ถ้าเรากังวลใจเราจะนอนไม่หลับเลยนะ ถ้าเรากังวลใจเนี่ยจะทำให้เรากินข้าวไม่ได้นอนไม่หลับ แล้วที่อาตมาส่งพระมา พระธงพระเทิงอะไรนั่นแหละ แล้วใครมาอยู่ที่นี่เพี้ยนไปหลายองค์แล้วนะ เพราะไร้บุญวาสนา ไร้เหตุผล เลยเพี้ยนไปเลยนะ ที่อาตมาส่งท่านพระครูมานี่เพราะดูแล้วดูอีก เห็นแล้วว่าเกรดใช้ได้ เกรดเอ และก็เป็นไปตามความมุ่งหมายทุกประการ แต่ก็ขอฝากไว้ด้วยว่าบางครั้งเนี่ย เราทำงานทุกอย่างต้องผิด ไม่มีอะไรที่จะร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างต้องบกพร่อง เช่นเราจัดงานนิมนต์พระมา ๙ วัด แต่คนรับมอบหมายงานลืม ไม่ได้รับพระมา พระก็ขาด ก็บกพร่อง และขอถามที่ประชุมนี้ว่าเวลาประชุมต้องใช้พิธีกร เราเป็นพิธีกรก็ได้  ทำไมต้องใช้ด้วย  เพราะเราเป็นเจ้าภาพนี่ต้องยุ่ง พิธีกรก็จะเตือนเรา ว่าถึงเวลาแล้ว เชิญเจ้าภาพ ไม่ใช่มัวแต่รับแขก แล้วลืมหมด บางทีพูดมากไป พิธีกรก็สะกิดแล้ว   เช่นบางทีเขียนแบบเกินไป ก็ต้องมีที่ปรึกษา บางทีอาตมาว่าอาตมาจะไปเรียนด๊อกเตอร์ซะหน่อย ก็ต้องมีที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ได้ไหม ก็จะเอาอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ได้ไหม  ไม่มีที่ปรึกษาแล้วใครจะเป็นคนรับรองวิทยานิพนธ์ อาจาย์เป็นที่ปรึกษา และสี่กรรมการเป็นที่รับรองวิทยานิพนธ์ นี่เดี๋ยวเดือนเมษามหาวิทยาลัยมหิดลเขาจะมาให้เราอีกแล้ว

ก็ขอเจริญพรว่า ศาลาเรานี่ใหญ่มาก บางคนบอกว่าทำไมใหญ่ ทำไมไม่ตัดหลังคาออกไป ทำไมไม่ตัดนั่นตัดนี่ออกไป  ญาติโยมเขาเตือนก็ถูกของเขา แต่ในวิธีปฏิบัติแล้ว เราต้องการทำให้ดี แล้วสวยด้วย ไหนๆทำทั้งทีให้ดีหน่อยได้ไหม ไม่ใช่ทำส่งเดช  เหมือนเศษสวะลอยมาหน้าบ้าน แทนที่จะเก็บสวะ กลับปัดสวะให้ไปหาคนอื่นต่อไป ไม่ได้ต้องช่วยกันรับผิดชอบถูกไหม

ขอเจริญพอท่านอาจารย์แบบนี่อาตมาให้เขาดู ทั้งพระเถระผู้ใหญ่ ทั้งวิศวะกรสถาปนิก ต่างก็บอกว่าแบบนี้ยังไม่เคยมีที่ไหน ยังไม่มีในทวีปเอเซียนี่ เพราะหลังคานี่มีหลายมุม มีแต่ทรงไทยแล้วมีช่อฟ้าหน้าบรรณ แต่นี่เป็นทรงไทยแบบสมัยประยุกต์ เข้ากับสมัยโลกาภิวัฒน์ สมัยโลกเจริญต้องประยุกต์ให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน ถ้ามีคนถามว่า ศาลานี่สมัยไหน ก็ให้ตอบว่าสมัยโลกาภาวัฒน์ สมัยโลกเจริญเดินออกหน้า สร้างแล้วมีคนมาปฏิบัติธรรม สมัยเจริญของจิตใจ หน้าใส ใจซื่อ ทำอะไรก็เฉียบขาดเป็นธรรม ศาลาเรา 

อาตมาก็เก็บความในใจไว้ว่าใครจะโผล่มา ก็พอดีลูกสาวก็โผล่มาเป็นคนแรก ก็คือคุณสุนิสา จึงรุ่งเรืองกิจ เขาก็เคยมาทอดกฐิน เขาเคยมาที่วัดอัมพวันเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก อยู่สระบุรีนี้เอง แล้วเขาก็ไปเรียนหนังสือไปได้ดิบได้ดีกลับมา ก็หันเหเร่กลับมา มาวัดอัมพวัน หันเหเร่มาทำไม เกิดดลบันดาล เทพเจ้าเข้าดลบันดาล ดลบันดาลอย่างไร เขาก็มาบอกว่า หลวงพ่อค่ะ หนูเคยมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กแล้ว หลวงพ่อจำหนูได้ไหมค่ะ มันห่างกันหลายปี นี่ย้อนยุค ย้อนอดีต  เขามีกตัญญู สามีเขาคือสุริยะ สุนิสาก็มีลูกนะ และเราก็รู้ความในใจของเขา เขาจะเอาสามีมาบวชที่วัดอัมพวันสัก ๑๐ วัน เราก็บอกว่า  สุนิสา หลวงพ่อบวชให้ไม่ได้หรอกสิบวัน ต้องเดือนหนึ่ง ก็บอกเขา บวชแล้วก็เกิดศรัทธา มานั่งกรรมฐาน ทางญาติพี่น้องก็มาหมด แม่เขากำลังเจ็บ เดี๋ยวนี้ก็หายแล้ว กลับแข็งแรง เป็นคนจีน บวชแล้วก็สึก พอเขารู้เรื่องสวนเวฬุวัน ก็เลยขอทอดกฐินตามที่ ยายเสนอเขาเสนอแนะ ถ้าใครไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ต้องไปถามคุณเสนอแนะ ไปหาอาจารย์แนะแนว ต้องมีอาจารย์แนะแนว  เลยตัดสินใจมาทอดกฐิน แล้วก็มากันหมด คนโน้นมา คนนี้มา ก็มากันเรื่อยๆ

ก็ขอให้พี่น้องเราดีใจกันถ้วนหน้า ว่าศูนย์เรานี้มีบุญ มีคนดีๆเข้ามา แล้วนายประจวบ ไชยสาส์น กับคณะ ก็มานั่งกรรมฐาน ก็เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา  แล้วที่อาตมาดีใจมากก็คือ ที่นี่พร้อมเพรียงกันดีเหลือเกิน สมอาจ  ก็มาพร้อมเพรียง  ถึงมีพกพร่องก็น้อง ไม่เหมือนเราที่ต้องทำงานคนเดียว แต่ใครก็ต้องคิดนะศาลาเป็นสิบๆล้าน ก็ได้ผลตามสมควรตลอดมา

เริ่มต้นก็ด๊อกเตอร์มังกร ด๊อกเตอร์ประภา  ภักดิ์โพธิ์  อาตมาก็ได้มารับเงิน ตอนที่ด๊อกเตอร์มังกร เพิ่งเสียชีวิตไป  อาตมาก็ว่าพวกเรานี่เป็นพลังงานชีวิตที่ทำให้เครื่องเดินเคลื่อนออกไป จะมีเครื่องใช้ไม้สอยที่ทันสมัย จะมีพระผู้ใหญ่ชมเชย ในกิจการงานของศูนย์เราอย่างดียิ่ง คนอื่นทำไม่ได้ มีงานทีรถบัสสี่ห้าคันไม่พอ ใครๆก็อยากจะมาดูศูนย์  มาปีนึงก็เปลี่ยน ปีนึงก็เปลี่ยน เปลี่ยนเป็นเจริญรุ่งเรืองต่อไป ทั้งในประเทศต่างประเทศก็มา และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คุณสุริยะ คุณสุริสา ก็มาวางศิลาฤกษ์ เขาก็ช่วย พระเถนานุเถระก็มา เจ้าคณะภาคเก้าอุตส่าห์มาพรมน้ำมนต์ให้

อาตมาก็ขออนุโมทนากับโยมทุกคน และขอให้ทุกท่านโปรดช่วยกันจดจำไว้ว่า

ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันนี่ เป็นของคนไทย เอาไว้ช่วยเหลือประเทศชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ แต่เราทั้งหลายเป็นผู้รักษา และดำเนินงานแทนเจ้าของก็คือประเทศชาติ เรารักชาติ รักพระศาสนา รักพระมหากษัตริย์เราจึงทำ ทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในประเทศชาติบ้านเมืองของเรา

 

อาจารย์บุญส่ง อินทวิรัตน์ ผู้จุดประกาย นำพา อาจารย์ถาวร - ดร.ลำใย  โกวิทยากร  ถวายที่ดิน

          ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันแห่งนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน แด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ เพื่อใช้ในการจัดสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ท่านผู้นั้นคือ อาจารย์ถาวร และดร.ลำใย  โกวิทยากร โดยการแนะนำของอาจารย์บุญส่ง  อินทวิรัตน์ ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้จุดประกายในการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

อาจารย์บุญส่งได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาในการสร้างศูนย์ฯ เมื่อครั้งเริ่มแรกไว้ว่า

            เรื่องนี้เกิดขึ้นมาจากที่กระผมมีความศรัทธาในตัวพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญมาก เพราะเห็นว่าท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  สอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีนโยบายที่จะปลูกคนสร้างคน ผมเองเป็นลูกคนจีน คนจีนเขาถือหลักว่า คิดการปีเดียวปลูกพืชล้มลุก คิดการสิบปีปลูกไม้ยืนต้น คิดการร้อยปีให้ปลูกคนผมเห็นว่าหลวงพ่อจรัญท่านปลูกคนเก่ง จึงพยายามเชิญชวนญาติธรรมชาวขอนแก่น เดินทางขึ้นไปกราบนมัสการท่านอยู่เป็นประจำ และได้นำญาติธรรมชาวขอนแก่น ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันอย่างสม่ำเสมอ เรียกได้ว่าเกือบจะทุกอาทิตย์ โดยทุกวันศุกร์ผมจะจัดรถตู้ ๓-๔ คัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจ เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้เกิดความคิดที่ว่า หลวงพ่อน่าจะมีสาขาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น เอาไว้สอนกรรมฐานที่นี่ ญาติโยมจะได้ไม่ต้องเดินทางมาปฏิบัติไกลถึงจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบกับทุกครั้งที่ไปกราบนมัสการหลวงพ่อ ท่านมักจะย้ำให้ชาวขอนแก่นฟังเสมอว่า ท่านกับชาวขอนแก่นเป็นญาติกัน ท่านเคยมาได้ของดีที่ดี สักวันหนึ่งท่านจะคืนของดีนี้ให้กับชาวขอนแก่น

            หลังจากนั้นแล้วได้มีผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นข้าราชการ อยู่จังหวัดมหาสารคาม ที่ผมให้ความช่วยเหลือเขา จนเขามีศรัทธาได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน ๗ วัน ตามที่ได้สัญญากับผมไว้ เมื่อกลับมาจากวัดอัมพวันเธอก็มาพาญาติพี่น้องไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน รวมทั้งมารดาของเธอด้วย  และมารดาของเธอก็เกิดศรัทธาอยากจะถวายที่ให้หลวงพ่อ ๕๐ ไร่ ที่หลังเขื่อนอุบลรัตน์ แต่เพราะเหตุขัดข้องบางประการทำให้เธอไม่สามารถมอบที่ดินที่สัญญาว่าจะมอบให้กับหลวงพ่อได้  ทำให้ผมคิดที่จะหาทุนก้อนหนึ่งไปซื้อที่ให้ได้ผืนหนึ่ง   เป็นที่ดินอยู่ปากทางเข้าเขื่อนอุบลรัตน์ ประมาณ ๓๐ ไร่

            ก็พอดี ดร.ลำใย โกวิทยากร เกิดมีจิตศรัทธาในพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ หลังจากที่ผมได้แนะนำให้ไปอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน   และทราบข่าวว่ามีคนจะถวายที่ๆน้ำพองให้หลวงพ่อ แต่ถวายให้ไม่ได้ ก็มีจิตศรัทธาอยากจะถวายที่ดินให้หลวงพ่อ ๒๐ ไร่ ได้มาปรึกษากับผมให้ผมเป็นธุระจัดการให้ ผมจึงเปลี่ยนความคิดที่จะซื้อที่ดินที่อำเภอน้ำพอง มาเป็นรับถวายที่ดินของ ดร.ลำใย โกวิทยากร  และได้นิมนต์หลวงพ่อเพื่อมารับถวายที่ดิน

            ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๓๖ หลังจากที่หลวงพ่อได้เยี่ยมชมเขื่อนอุบลรัตน์ ก็ได้เดินทางมาถึงจุดบริเวณที่จะรับมอบที่ดิน ซึ่งผมสั่งให้ไถถนนเป็นทางเข้า และตั้งเป็นเต้นต์พิธีไว้แล้ว  ซึ่งเมื่อทุกคนพร้อมกันที่เต้นต์พิธีแล้ว ผมก็เริ่มกล่าวนำถวายที่ดิน เมื่อกล่าวจบหลวงพ่อจรัญท่านก็นิ่งเฉย  ก็กล่าวอีกครั้งก็นิ่งเฉย พอกล่าวมอบที่ดินครั้งที่สามหลวงพ่อท่านถึงได้พูดออกมาว่า อย่าปล่อยที่ให้หมาขี้ หาพระดีไม่ได้นะผมได้ฟังก็นึกตกใจว่า ทำไมหลวงพ่อพูดแบบนี้ คนเขาอุตส่าห์ถวายที่ ทำไมไม่กล่าวชมเขาสักคำ และพอจะกลับก็พูดย้ำคำเดิมอีกว่า อย่าปล่อยที่ให้หมาขี้ หาพระดีไม่ได้นะซึ่งผมได้มาทราบความหมายภายหลัง

            ในตอนที่ถวายที่นั้นมีเรื่องน่าอัศจรรย์ใจอยู่ประการหนึ่ง คือตอนที่ได้ถวายที่ดินแล้ว หลวงพ่อท่านก็กำลังจะให้พร ยะถา สัพพี ผมก็เดินถือคันโท ไปเตรียมกรวดน้ำอยู่บริเวณกลางดิน ทุกคนก็กำลังนั่งประนมมือรับศีลอยู่ พอหลวงพ่อให้พรปุ๊ป ฟ้าก็ผ่า เปรี้ยงๆๆ สามครั้ง เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจต่อผู้ที่ได้เข้าร่วมพิธีในวันนั้นยิ่งนัก

            หลังจากวันนั้นแล้วหลวงพ่อท่านก็โทรมาถามผมเป็นระยะๆ ว่าเขาสร้างไปถึงไหนแล้ว ผมก็ไม่สามารถตอบหลวงพ่อได้ว่า ไม่ได้สร้างอะไรเลย แต่ก็ต้องตอบหลวงพ่อไปว่าครับ กำลังดำเนินการ จากนั้นผมก็ไปชวนคุณอ๋อย เจ้าของบริษัทขอนคอนกรีต ให้เข้าไปดูที่ศูนย์กัน เมื่อเห็นแล้ว ผมก็นึกถึงคำของหลวงพ่อที่สั่งไว้ว่า อย่าปล่อยที่ให้หมาขี้ หาพระดีไม่ได้นะผมจึงมีความคิดที่จะสร้างศูนย์ฯตามที่รับปากหลวงพ่อไว้แล้วให้ได้  ผมจึงไปปรึกษากับครูปรานี ไชยเชษฐ์ หรือครูแขก เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอนุบาลประจำเขื่อนอุบลรัตน์ของ กฟผ.  และคุณวิลาวัลย์ ที่ทำงานอยู่ กฟผ. ว่าจะทำกันประการใดดี ซึ่งสามารถพูดได้เลยว่าคณะทำงานและผู้อุปถัมภ์ให้ทุนสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันชุดเริ่มแรก คือ ครูปรานี ไชยเชษฐ์ ,คุณวิลาวัลย์ และพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย   ซึ่งต่อมาก็สามารถหาทุนสนับสนุนในการสร้างศูนย์ก้อนแรกมาได้ประมาณเกือบสองแสน แล้วพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญได้มอบให้ไว้อีก หนึ่งแสนบาท เป็นเงินพระราชทานของสมเด็จพระสังฆราชฯ จึงทำให้มีทุนเริ่มแรกทั้งหมดเกือบสามแสนบาท

            จากนั้นผมได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์โดยการเจาะน้ำก่อน ซึ่งโชคดีมากที่จุดที่ผมชี้ให้เจาะ ปรากฎว่าเจาะทะลุหินลงไปเจอตาน้ำขนาดใหญ่ วันเดียวคนใช้น้ำถึงห้าพันคนก็พอใช้  แล้วก็เริ่มก่อสร้างกุฏิหลวงพ่อ ศาลาอำนวยการ ห้องน้ำ แล้วก็สร้างเรือนไม้เป็นที่พักของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อที่จะได้มีคนเข้ามาปฏิบัติที่ศูนย์ และมีคนคอยเฝ้าสิ่งของต่างๆ ซึ่งระหว่างนั้นผมต้องเข้าไปบุกเบิก คอยควบคุมดูแลการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ และเพื่อพี่น้องชาวขอนแก่นจะได้มีศูนย์ปฏิบัติธรรมที่สอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงจังหวัดสิงห์บุรี

 

คำว่า สวนเวฬุวันมาจากไหน

คุณลุงบุญส่ง อินทวิรัตน์ ได้เล่าถึงคำว่า สวนเวฬุวันที่เป็นชื่อของศูนย์ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่เริ่มนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ซึ่งคุณลุงเล่าว่า เมื่อวันที่หลวงพ่อมารับถวายที่ดิน ผมก็ได้กล่าวกับหลวงพ่อไว้ว่า หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าของเรา ท่านมีวัดอยู่สองวัดที่มีชื่อคล้องจองกันอยู่ คือ วัดอัมพวัน กับ วัดเวฬุวัน วัดอัมพวันหลวงพ่อก็เป็นเจ้าอาวาสอยู่ มีอยู่แล้ว ถ้าอย่างนั้นขอให้ที่นี่ชื่อว่าวัดเวฬุวัน นะครับหลวงพ่อ เพราะว่าที่ดินผืนนี้ มีต้นไผ่อยู่ ๕๐๐ กออยู่แล้วครับหลวงพ่อท่านก็รับว่าให้ชื่อ เวฬุวันเพราะ เวฬุวันแปลว่า ป่าไผ่นั่นเอง

จากนั้นผมก็จ้างเข้าเขียนป้ายขนาดใหญ่ว่า ศูนย์ปฏิบัติกรรมฐานเวฬุวันแล้วนำไปตั้งไว้หน้าบ้าน พอดีภรรยาผมเห็นเข้า จึงบอกกับผมว่า ผิดผมก็สงสัย เพราะผมมั่นใจว่าได้เขียนไว้ถูกแล้ว ผมจึงถามเธอไปว่า ผิดอย่างไรเธอตอบผมว่าในตำนานของพระพุทธศาสนาต้องมีคำว่าสวนด้วยผมก็ร้องอ๋อเลย จึงต้องแบกป้ายไปให้เขาแก้เป็น ศูนย์ปฏิบัติกรรมฐานสวนเวฬุวัน จากนั้นผมก็นำป้ายขึ้นรถไปขออนุญาติหลวงพ่อที่วัดอัมพวัน นำไปตั้งอยู่ที่วัดอัมพวันเป็นเดือนๆ ถึงได้นำกลับมาติดตั้งที่นี่ต่อไป

 

อาจารย์ถาวร - ดร.ลำใย  โกวิทยากร ผู้ถวายที่ดินสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

ปัจจุบันท่านทั้งสองรับราชการอยู่ที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบุตรสองคนคือ นายวรวิช โกวิทยากร  และนางสาวอริสรา โก-วิทยากร

ท่านเป็นผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินจำนวน ๒๒ ไร่ ในหมู่บ้านซำจาน ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  เป็นที่ดินที่มีต้นไผ่ตงปลูกไว้เต็มพื้นที่ รวมแล้วประมาณ ๕๐๐ กอ อันเป็นสาเหตุของการตั้งชื่อศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้  ท่าน ดร. ลำใย ได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ท่านซื้อที่ดินแปลงนี้เมื่อประมาณปี พ.. ๒๕๑๖  เพื่อที่จะเก็บไว้ถวายเป็นธรณีสงฆ์ ในระยะแรกๆได้ปลูกมันสำปะหลัง แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ เพราะชาวบ้านในบริเวณนั้นประกอบอาชีพฟาร์มโคนม  ทำให้ชาวบ้านแถวนั้นมีความเห็นว่าที่ดินแปลงนี้คงไม่เหมาะที่จะถวายเป็นธรณีสงฆ์

แต่ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสเข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ในหลักสูตรของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย  ทำให้ท่านได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับประวัติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นครั้งแรก และมีความรู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านมาก

ต่อมาท่านได้รู้จักกับ อาจารย์บุญส่ง อินทวิรัตน์ ซึ่งเป็นผู้มีความสำคัญในการแนะนำให้ ดร. ลำใย มีโอกาสไปปฏิบัติธรรม ณ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี และได้เข้าพบพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

จากนั้นในวัน ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ ๒๕๓๖ ท่านและครอบครัวได้มีโอกาสถวายที่ดินให้กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ นับเป็นความปิติยินดีของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสถวายที่ดินผืนนี้ และได้เห็นความเจริญเติบโตของศูนย์เวฬุวัน ที่นับวันจะมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลกันเข้ามา ปฏิบัติธรรมนำบุญกุศล ความดีงามทั้งหลายมาสู่ตนเอง

 

หลวงพ่อส่งพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร เข้ามาบริหารงาน

          ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น ประสบความสำเร็จ มีความเจริญก้าวหน้า มีการอบรมปฏิบัติธรรมและการบริหารงานที่เป็นระบบระเบียบได้เช่นทุกวันนี้ สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้ส่งพระที่คอยรับใช้ใกล้ชิด เป็นพระที่คอยอุปัฏฐากท่าน จนได้รับความไว้วางใจ ให้เดินทางมาบริหารงาน เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ท่านก็คือ พระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโต ผู้มีความกตัญญู อ่อนน้อมถ่อมตน อดทนบริหารงานตามคำสั่งของหลวงพ่อ สนองงานตามเจตนารมณ์ของพระอุปัชฌาย์ ตั้งแต่ศูนย์ยังแห้งแล้ง กันดาร ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆเลย จนกระทั่งศูนย์เวฬุวัน รุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ จนญาติโยมที่ได้เข้ามาที่ศูนย์ต่างชื่นชม และเคารพศรัทธาในปฏิปทาของท่าน  โดยเฉพาะพระเดชพระคุณหลวงพ่อมีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ได้ตั้งท่านพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร ให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน และได้กล่าวชมเชยไว้ ณ พระอุโบสถวัดอัมพวัน ต่อหน้าคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนที่มาในวันนั้น (๙ มีนาคม พ.. ๒๕๔๔) ไว้ว่า

                  วันนี้ก็ขออนุโมทนาสาธุการโยมขอนแก่นอาตมาก็ขอขอบคุณขอบใจ  และขอขอบใจพระครูสมุห์ธีรวัฒน์  ที่ได้จัดศูนย์ของเราให้เรียบร้อยสวยงามมากและเป็นพระที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน และได้รับรางวัลโล่ห์บ้าง  ได้รับเข็มบ้างตลอดกระทั่งรับพระราชทานเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  มีผลงานมากมาย  ตลอดทั้งเป็นนักเผยแผ่พุทธรรมให้แพร่ขยายออกไปทั่วภาคอีสานตลอดทั้งมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสมกับที่เราส่งพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ไปประกาศพระศาสนา  สมปรารถนาคือความสำเร็จ  ท่านเป็นพระที่มองกาลไกลแล้วอ่านตัวออกบอกตัวเป็น  ท่านพระครูสมุห์อ่อนน้อมถ่อมตน  พระเถรานุเถระมีแต่เมตตาตลอดรายการไม่มีเกลียดชังแต่ประการใดมีแต่ชมเชยและให้เกียรติ  ทั้งเจ้าคณะตำบลเจ้าคณะอำเภอของแก่นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นรองเจ้าคณะจังหวัดตลอดจนเจ้าคณะภาคที่มาเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีวางศิลาฤกษ์ก็รู้สึกพอใจมากท่านได้กล่าวอนุโมทนาประกาศเกียรติคุณในวันนั้นสวนเวฬุวันของเราก็มีแต่คืบหน้าเจริญงอกงาม

 เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาปัญหาและอุปสรรคต่างๆของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันผู้เขียนจึงได้เข้ากราบนมัสการท่านซึ่งท่านพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ฐานุตตโรได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาและการเจริญเติบโตของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันไว้ดังนี้

เมื่ออาตมาได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนาเมื่อวันที่๑๔มีนาคม.. ๒๕๓๕โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นพระอุปัชฌาย์อาตมาโชคดีที่ได้มีโอกาสได้รับใช้ใกล้ชิดเป็นพระที่คอยอุปัฏฐากท่านเรื่อยมาจนกระทั่งออกพรรษาประมาณเดือนพฤศจิกายน..๒๕๓๖  อาตมาก็ได้ลาท่านเพื่อมาเยี่ยมโยมบิดามารดาที่จังหวัดมหาสารคาม  หลวงพ่อท่านจึงได้บอกกับอาตมาว่าท่านก็มีญาติอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม

และได้พูดถึงศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

 

เข้าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันครั้งแรก

        “…ก่อนหน้านั้นอาตมาเคยได้ยินชื่อของศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้วจากการที่ท่านได้ไปรับถวายที่เมื่อเดือนมิถุนายน.. ๒๕๓๖  และท่านก็ได้พูดให้ญาติโยมฟังอยู่เรื่อยๆเมื่ออาตมาขึ้นไปลาหลวงพ่อท่านได้เล่าเรื่องศูนย์เวฬุวันให้อาตมาฟังว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันอาจารย์ลำใยท่านได้ถวายที่ไว้ให้จะให้เราสร้างเป็นวัดเราไม่สร้างหรอกเราจะสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมถ้าไม่ไกลกันมากให้ช่วยแวะเข้าไปดูให้เราหน่อยนะอาตมาเลยรับปากท่านว่าจะหาเวลาไปดูให้

        อาตมาจึงติดต่ออาจารย์บุญส่งให้ท่านพามาดูที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันอาจารย์ก็นัดกับพวกอีกสี่ห้าคนรวมกันเป็นคณะเข้าไปในครั้งนั้นอาตมาก็ไปเยี่ยมชมซึ่งตอนนั้นห้องน้ำกำลังก่อสร้างทางที่จากถนนมิตรภาพเข้าไปยังเป็นลูกรังส่วนทางแยกเข้าไปยังศูนย์ยังเป็นฝุ่นอยู่เป็นทางที่เขาเอารถไถไถดินที่เคยเป็นไร่มันเป็นพื้นที่ปลูกหญ้าเข้าไป  ห้องน้ำนี่สร้างก่อนเลยแล้วต่อมาในภายหลังจึงได้สร้างกุฎิหลวงพ่อแล้วมาศาลาพระพุทธชินราช  ครัวศาลาหลังเล็กตามลำดับ

        เมื่อได้กลับไปที่วัดอัมพวันแล้วอาตมาจึงได้ไปเล่าให้หลวงพ่อฟังว่าการก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะไม่มีน้ำต้องอาศัยน้ำจากการสนับสนุนของกำลังทหารค่ายศรีพัชรินทร์คอยนำน้ำมาส่งเพื่อใช้ในการผสมปูนและใช้ชำระร่างกายไฟฟ้าที่ใช้ในการก่อสร้างก็มาจากเครื่องปั่นไฟ   และได้ถ่ายรูปประกอบให้หลวงพ่อได้ดูด้วยในตอนนั้นอาตมาเข้าไปดูแล้วก็ไม่ได้มีความรู้สึกพิเศษอะไรกับที่นี่  นึกแต่เพียงว่าจะต้องตอบท่านให้ได้ว่าศูนย์เป็นอย่างไรและคิดว่าทางขอนแก่นเขาถวายที่ให้หลวงพ่อแล้วท่านคงรับและให้ญาติโยมทางขอนแก่นเข้าจัดการกันเองเลย

 

เข้าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันครั้งที่สอง

หลังจากนั้นอาตมาก็ได้รับรู้เรื่องราวของเวฬุวันว่าอาจารย์บุญส่งมาเบิกเงินจากหลวงพ่อเพื่อไปสร้างศูนย์ฯและทุกวันศุกร์อาจารย์บุญส่งก็จะจัดรถตู้พาผู้ปฏิบัติธรรมจากขอนแก่นเข้ามาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวันและเข้ากราบนมัสการหลวงพ่อเป็นประจำเกือบทุกอาทิตย์ทำให้ช่วงนั้นมีชาวขอนแก่นหลั่งไหลกันมาที่วัดอัมพวันกันเป็นจำนวนมาก

            เวลาก็ล่วงเลยมาจนกระทั่งใกล้วันวิสาขบูชา พ.. ๒๕๓๗ อาจารย์บุญส่ง กับ พันเอก (พิเศษ) ขจร จิตวิเศษ (ยศเมื่อปี พ.. ๒๕๓๗) ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ ๖ ค่ายศรีพัชรินทร์ ได้จัดการอบรมปฏิบัติธรรมขึ้นโดยมีคณะทหารเข้ารับการอบรม ๓๐ กว่านาย รวมระยะเวลา ๗ วัน  และได้ทำหนังสือถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อเพื่อขอพระภิกษุเข้ามาช่วยเหลือในการอบรมปฏิบัติธรรม

            หลวงพ่อจึงได้เรียกอาตมาขึ้นไป และบอกกับอาตมาว่า ทางขอนแก่นได้ขอพระเพื่อไปช่วยเหลือในการอบรมปฏิบัติธรรม เราจะให้พระครูสังฆรักษ์ชูชัย (ปัจจุบันคือพระครูภาวนานุกูล) ท่านขึ้นไปสอน และจะให้อาตมาไปเป็นผู้จัดการในการอบรม อย่าให้ขาดตกบกพร่องแล้วท่านก็ได้ให้เงินค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่างๆกับอาตมา

            อาตมาได้ชวนพระภิกษุขึ้นมาด้วยกันอีกสองรูป คือพระนริศ และพระสิงห์ไชย  รวมแล้วจึงมีพระภิกษุเดินทางขึ้นมาที่ศูนย์ในครั้งนั้นรวม ๔ รูป

            อาตมาและคณะ ได้เดินทางมาถึงศูนย์ก่อนวันวิสาขบูชาหนึ่งวันในตอนเช้า และเตรียมสถานที่เวียนเทียน และได้อัญเชิญพระพุทธชินราชที่ได้รับมาจากวัดอัมพวัน มาประดิษฐาน ณ ศาลาอำนวยการ จนทำให้ทุกคนเรียกศาลาอำนวยการว่าเป็นศาลาพระพุทธชินราชมาจนทุกวันนี้ อาตมาก็นำพระพุทธชินราชมาออกประดิษฐาน ณ บริเวณที่สร้างเป็นที่ลงทะเบียนในปัจจุบัน และทำพิธีเวียนเทียนครั้งแรกของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันที่บริเวณนั้น ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เข้ามาร่วมเวียนเทียนมากพอสมควร

            ก่อนหน้าที่อาตมาจะเดินทางมาในครั้งนี้ ได้รับทราบว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันมีญาติโยมพลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติธรรมกันบ้าง โดยมีอาจารย์บุญส่ง อินทวิรัตน์ เป็นผู้ให้การแนะนำ และจะช่วยกันอยู่เฝ้าดูแลศูนย์จนกว่าจะมีผู้ปฏิบัติธรรมคนใหม่เข้ามาถึงจะกลับผลัดกันเฝ้าต่อไป ซึ่งในสมัยนั้นไฟฟ้าก็ยังไม่มี ต้องใช้ตะเกียง น้ำบาดาลก็ยังไม่มี ได้แต่อาศัยทหารขนเอาน้ำเข้ามาให้

            จนกระทั่งเมื่อมีทหารเข้ามาอบรม จึงได้มีการใช้เครื่องปั่นไฟ เพื่อให้แสงสว่างภายในศูนย์  อาตมาจึงได้มีโอกาสเรียนรู้งาน โดยได้เรียนรู้การใช้เครื่องปั่นไฟ คือพอประมาณตีสามครึ่ง อาตมาและพระภิกษุที่มาด้วยกันก็จะผลัดเวรกันไปเปิดเครื่องปั่นไฟ เสร็จแล้วก็จะมาตีระฆัง แล้วเข้าสวดมนต์ทำวัตรเช้า จนกระทั่งหกโมงเช้าก็จะมาปิดเครื่องปั่นไฟ หกโมงเย็นก็จะไปเปิดเครื่องปั่นไฟ แล้วไปปิดประมาณสี่ทุ่ม

            ญาติโยมที่เคยเข้าไปที่ศูนย์เมื่อเห็นว่ามีพระจากวัดอัมพวันมาที่ศูนย์ ต่างก็พากันดีใจ และอยากให้มีพระอยู่ต่อไปเรื่อยๆ  แต่พอรู้ว่าอีกสามวันปิดการอบรมแล้วพระต้องกลับ โดยาเขาก็เลยปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรกันดียังไม่อยากให้พระกลับเลย เพราะถ้าพระกลับกันแล้วไม่รู้ว่าศูนย์นี้จะเป็นอย่างไร คงไม่มีใครอยู่แล้วละมั๊ง  แล้วเด็กที่มาช่วยเหลือเรื่องอาหาร และเครื่องปั่นไฟประมาณสี่ห้าคน ก็เข้ามาปรึกษากับอาตมาว่า ถ้าหากพวกหลวงพี่กลับ พวกเขาก็จะพากันกลับเหมือนกัน ถ้าพวกหลวงพี่อยู่พวกผมถึงจะอยู่ อาตมาก็จึงรับปากว่าจะปรึกษากับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

            จากนั้นในวันรุ่งขึ้นอาตมาจึงมาปรึกษากับพระนริศและพระสินไชย ว่าญาติโยมเขาว่ากันมาอย่างนี้จะทำอย่างไรดี  เพราะอาตมากับพระครูภาวนาคงต้องกลับไปวัดอัมพวันก่อน อยากให้ท่านทั้งสองอยู่ที่ศูนย์ไปก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วถ้าหลวงพ่ออนุญาติ เราค่อยหาพระขึ้นมาสับเปลี่ยนกันอยู่ ซึ่งท่านก็บอกว่าถ้าหลวงพ่อให้อยู่ท่านทั้งสองก็จะอยู่ อาตมาจึงได้โทรศัพท์เข้าไปหลวงพ่อเพื่อปรึกษาท่าน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อาตมาได้คุยโทรศัพท์กับหลวงพ่อ  ท่านก็พูดกับอาตมายาวเลยว่าเลยว่า เราไปนำชาวบ้านเขาปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง คนเยอะไหม ทหารเยอะไหม อาหารการกินเป็นอย่างไร พวกเราอยู่กันได้ไหม หลวงพ่อก็ถามหลายอย่าง จนสุดท้ายอาตมาก็เรียนถามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อครับ จะปิดการอบรมแล้ว พวกผมจะกลับ ญาติโยมเขาก็ไม่อยากให้พวกผมกลับ จะทำอย่างไรดีครับ เขาอยากให้มีพระอยู่จะได้เข้ามาทำบุญกัน จะได้มีพระสอนการปฏิบัติ แต่ถ้าหากพระกลับกันไปหมด พวกกระผมก็กลัวว่าศุนย์เนี่ยจะร้าง เพราะตามความคิดของญาติโยมที่นี่ เขาดีใจที่มีพระภิกษุจากวัดอัมพวันมา จะได้เข้ามาทำบุญกันที่นี่ เพราะเดินทางไปหาไปทำบุญหลวงพ่อก็ไกล แต่ได้ทำบุญกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อก็ถือว่า คล้ายๆกับได้ทำบุญกับหลวงพ่อ พวกเขาไม่อยากให้พวกกระผมกลับไปครับ หลวงพ่อจะให้พวกกระผมดำเนินการอย่างไร เพราะผมไม่อยากให้ศูนย์ร้าง เหมือนอย่างที่พวกญาติโยมเขาได้พูดกันคือในช่วงที่อาตมาเข้ามาอยู่ ปรากฎว่าญาติโยมได้เข้ามาที่ศูนย์กันเยอะ นำปิ่นโตเข้ามาถวายเช้าเพลเยอะมาก เรียกว่าคึกครื้นกันพอสมควรเลย อาตมารู้สึกเสียดายหากศูนย์แห่งนี้ต้องร้างไป

            ท่านก็บอกว่า เออ เราอยู่เนี่ย ก็ช่วยสอนเขาไป พวกเราอยู่กันได้ไหมหละ ก็ลองปรึกษากันดูว่าใครจะอยู่ได้ ก็ให้พระอยู่ก่อนสักสองรูปสิ

            พอรุ่งเช้าอาตมาจึงไปบอกกับท่านทั้งสอง ซึ่งท่านก็ยินดีที่จะช่วยอยู่

            พอกลับถึงวัดอัมพวัน อาตมาก็ได้ขึ้นไปกราบเรียนรายงานถวายท่าน เมื่อท่านได้ฟังท่านก็ดีใจในศรัทธาของชาวขอนแก่น อาตมาจึงเรียนท่านต่อไปว่า กระผมดีใจที่เห็นสาขาของหลวงพ่อเกิดขึ้นที่ภาคอีสานเป็นสาขาแรก เพราะเท่าที่ทราบสาขาของวัดต่างๆเกิดขึ้นที่ภาคอีสานนั้นมีมากมาย แต่มีน้อยมากที่จะทำประโยชน์โดยการอบรบพัฒนาจิตให้กับเยาวชน  ดังนั้นการที่ได้มีสาขาของหลวงพ่อเกิดขึ้นในลักษณะนี้ จะเป็นผลดีกับประเทศชาติ  ท่านก็บอกกับอาตมาว่า พระท่านก็มีแต่อยากไปสวรรค์ไปนิพพานกันหมด ที่เราทำงานวันทั้งวันทั้งคืนเนี่ยก็เพราะต้องการสอนเด็ก ทำคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดิน เพื่อใช้หนี้ญาติโยม ใช้หนี้อุปัชฌาย์อาจารย์เรา เพราะถ้าเราบวชมา แล้วสร้างความดี อุปัชฌาย์อาจารย์ของเราก็จะดีใจ ที่เราไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมที่ขอนแก่น ก็เพื่อตอบแทนคุณแก่หลวงพ่อดำ เราจะคืนของดีให้กับขอนแก่นซึ่งอาตมาก็เริ่มได้รู้จักหลวงพ่อดำจากที่หลวงพ่อได้เล่าให้ฟังในครั้งนั้น และอาตมาก็เริ่มรู้ถึงเจตนารมณ์ และวัตุถุประสงค์ที่ท่านไปสร้างศูนย์ฯ ไว้ที่ขอนแก่นได้อย่างชัดเจนขึ้น

            จากนั้นอาตมาจึงเรียนท่านว่า กระผมคงได้ขึ้นลงขอนแก่นบ่อยครั้งขึ้น เพราะผมรับปากพระท่านไว้ว่าผมจะไม่ทิ้งท่าน ผมจะไปเยี่ยมท่านบ่อยๆจากนั้นอาตมาก็ได้ลงไปเดือนล่ะครั้งสองครั้ง และภายหลังพระสุปรีชา และพระวรพจน์ท่านก็ได้ขึ้นช่วยที่ศูนย์อีกสองรูป รวมเป็นสี่รูป

 

รับปากหลวงพ่อจะมาอยู่ดูแลสวนเวฬุวัน

            พอใกล้เข้าพรรษา อาตมาก็ได้ข่าวว่าท่านทั้งสี่รูปมีความประสงค์ที่จะกลับมาจำพรรษาที่วัดอัมพวัน แต่อาตมาก็ไม่ได้นึกอะไรรู้สึกเฉยๆ เพราะคิดว่าพรรษานี้จะอยู่รับใช้หลวงพ่อเป็นพรรษาสุดท้าย จะสอบนักธรรมเอกให้ได้ พอออกพรรษาแล้วก็จะขอหลวงพ่อลาสิกขา

แต่ต่อมาอีกสักประมาณสิบห้าวันจะถึงวันเข้าพรรษา พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็เรียกอาตมาขึ้นไปพบอีก ท่านก็บอกกับอาตมาว่า เราสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันไว้เนี่ย เราไม่สร้างเป็นวัด แต่เราจะสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม ให้เยาวชนลูกหลานไปปฏิบัติธรรม เพราะประเทศชาติกำลังจะไปไม่รอดแล้ว เราต้องการสอนคน แต่เรามันตัวคนเดียว ไม่ใช่พระนารายณ์ แบ่งภาคไม่ได้ จะไปอยู่สร้างก็ไม่ได้ เรามองหาใครก็ไม่มี จะให้ใครไปอยู่ก็ไม่มี ไม่มีใครจะช่วยงานเราเลยพอท่านพูดกับอาตมาแบบนี้ ด้วยความที่อาตมาสงสารท่าน พอท่านถามอาตมาอีกครั้งว่า เธอจะไปอยู่ที่ศูนย์ให้เราได้ไหมอาตมาจึงรับปากหลวงพ่อทันทีเลยว่า ครับ ได้ครับแล้วหลวงพ่อท่านก็บอกให้ไปหาพระที่จะไปช่วยให้ได้ห้ารูป

แต่พออาตมาเดินลงกุฏิมา ก็กลับมาคิดว่า เอ๊ จริงๆแล้วไม่ใช่นี่หว่าก็รู้สึกงงๆ ว่าไปรับปากท่านได้อย่างไร อาตมาก็เริ่มเป็นกังวล คิดไปคิดมาว่า เรานี่ถ้าจะบ้าแล้ว บวชก็บวชได้แค่สองพรรษา จะหาเรื่องใส่ตัวแล้วไหมหล่ะ เกิดไปแล้วมีญาติโยมเขาถามปัญหา จะตอบเขาได้อย่างไร  มานึกๆว่าท่านให้เราไปหาพระมาให้ได้ห้าองค์  ไม่ได้ให้นิมนต์พระผู้ใหญ่ไป เหมือนกับให้เราเป็นหัวหน้าทีมพาไป  พอมานึกๆว่า เราอุตส่าห์ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่ว่าจะขอบวชพรรษาสุดท้าย และจะขออยู่รับใช้ใกล้ชิดท่านให้มากที่สุด มันได้เรื่องแน่ เราจะไปได้อย่างไร เพราะถ้าเราไปอยู่แล้ว พอออกพรรษา เราสึก คนเขาก็จะว่าหลวงพ่อได้ว่า หลวงพ่อส่งพระอะไรมา มาอยู่แล้วก็สึกไป และอีกความคิดหนึ่งก็กลัวว่า ถ้าเรามาอยู่แล้วไม่ได้สึกหล่ะ จะทำอย่างไรดี ก็มาคิดหนักอยู่ห้าหกวัน เกิดความรุ่มร้อนไม่เป็นสุขเลย มีความกังวลใจ พอวันที่เจ็ดจึงตัดสินใจขึ้นไปกราบหลวงพ่อ บอกท่านว่า หลวงพ่อครับ กระผมกราบขอบคุณพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ที่ไว้ใจให้กระผมไปอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น แต่เกล้ากระผมเป็นพระใหม่ ยังไม่มีภูมิรู้ภูมิธรรรม และพรรษานี้กระผมก็มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าพรรษานี้จะเป็นพรรษาสุดท้ายที่จะได้อยู่ปฏิบัติหลวงพ่อ ออกพรรษาสอบนักธรรมเอกแล้ว กระผมคงต้องสึกออกไปทำงานทำการ ทำหน้าที่ของตนเองในความรู้สึกตอนนั้นอาตมามีความภาคภูมิใจอย่างที่สุดแล้วที่ได้บวชและได้รับใช้หลวงพ่อ ที่เป็นพระดังในประเทศ ก็คิดว่าพอสึกออกไปเราก็จะไปคุยให้เพื่อนๆ ให้ลูกให้หลานฟังได้ว่า หลวงพ่อจรัญเนี่ย เราได้รับใช้ใกล้ชิดมาแล้ว

     อาตมาก็เรียนหลวงพ่อต่อไปว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ กระผมได้ไตร่ตรองดีแล้ว รู้ตัวเองดีว่ากระผมไม่มีความสามารถที่จะไปดูแลงานนี้ กระผมเพิ่งได้สองพรรษา อายุก็แค่ ๒๓ ปี ยังเด็กมาก กระผมคิดว่า ถ้าให้กระผมไปเป็นพระทำงาน โดยที่ให้พระผู้ใหญ่ขึ้นไปเป็นหัวหน้าควบคุมบริหารงาน กระผมจะขึ้นไปท่านจึงถามอาตมาว่าแล้วจะให้ใครขึ้นไป อาตมาก็แนะนำพระผู้ใหญ่ให้ท่าน แต่หลวงพ่อท่านนิ่งอยู่สักพักหนึ่ง แล้วท่านก็บอกกับอาตมาว่า ไปเถอะ เธอนั่นแหละไป ไปอยู่ก่อน มันไม่เหมือนกันท่านย้ำอยู่คำว่า มันไม่เหมือนกันทำให้อาตมาคิดอยู่ในใจว่า ยังไงคงจะยากพอท่านเห็นอาตมาเงียบ หลวงพ่อท่านจึงกับอาตมาอีกว่า ไปอยู่ก่อน  พอออกพรรษาแล้วเราจะเอากฐินไปทอด แล้วเราจะหาพระไปเปลี่ยนพออาตมาได้ยินหลวงพ่อบอกว่าอย่างนี้แล้วเราก็รู้สึกโล่งอก สบายใจ และนึกไปว่า ออกพรรษาแล้วหลวงพ่อจะเอากฐินไปทอด พอทอดกฐินเสร็จ เราก็จะขอกลับพร้อมหลวงพ่อเลย

 

 เข้าศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันครั้งที่สาม

            ดังนั้นอาตมา จึงได้เดินทางมาจำพรรษาที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ร่วมกับพระอีกสี่รูป ทำให้พรรษาแรกของศูนย์มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ทั้งสิ้นห้ารูป และสามเณรหนึ่งรูป มีอาตมาพระธีรวัฒน์  ,พระสมศักดิ์ ,พระสุปรีชา ,พระนริศ ,พระสุชาติ และสามเณรจิรยุทธิ์ จ่ายพอควร หรือพระจิรยุทธ์ในปัจจุบัน ซึ่งการเข้ามาศูนย์ในครั้งนี้ทำให้อาตมาต้องอยู่ที่ศูนย์มาจนถึงปัจจุบัน

            พรรษาแรกที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อาตมาและพระภิกษุทั้งสี่รูปได้ทำงานกันอย่างหนัก จนทำให้รู้สึกว่าเราได้มาทำประโยชน์ต่อสังคม และเริ่มได้อบรมนักเรียนอยู่ประมาณสองคณะ โดยใช้ศาลาหลังเล็กเป็นที่อบรม ไฟฟ้ายังคงต้องอาศัยเครื่องปั่นไฟอยู่ ส่วนน้ำก็อาศัยน้ำบาดาลโดยอาศัยเครื่องปั่นไฟเป็นเครื่องสูบน้ำ

            พรรษาแรกเป็นการบุกเบิก เริ่มปรับปรุงพื้นที่ ญาติโยมก็ชาวขอนแก่นที่ศรัทธาในหลวงพ่อต่างผลัดกันนำภัตตาหารเช้าเพลมาถวายอย่างไม่ขาด

 

เห็นตัวตายที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

            ในระหว่างที่อาตมาได้อยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมเป็นพรรษาแรกนั้น มีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดของอาตมาทั้ง จากที่เคยตั้งใจไว้ว่ารับกฐินแล้วจะสึก ก็ไม่คิดที่จะสึกอีก คิดแต่ที่จะช่วยเหลือหลวงพ่อเพื่อพัฒนาสังคม ซึ่งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นดังนี้

            “…ในพรรษาแรกนั้น อาตมาเกิดมีความรู้สึกอยากปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ยุงกัดก็ปล่อยให้มันกัด กัดจนบวมจนเป็นปุ่ม จนหนักเข้ามันก็ชินไปเอง รู้สึกว่ามันกัดๆไป มันก็เบื่อไปเอง เบื่อจนมันขี้เกียจจะกัด หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือถูกกัดจนอาตมาด้านไปเลย เลยไม่รู้สึกถึงเรื่องนี้ต่อไป มุ้งก็ไม่กาง ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเพราะอาตมาขึ้เกียจกางมุ้งหรือว่าอาตมานิ่งเฉยกันแน่

            และอีกประการหนึ่งอาตมาลองถือเนสันชิกังคะ (คือกาถืออิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง แต่ไม่ถืออิริยาบทล้มตัวลงนอน) แต่การถือเนสันชิกของอาตมา อาตมาไม่ได้ตั้งสัจจะหรือตั้งใจแต่ประการใด  แต่เป็นเพราะว่าตลอดเวลาที่อยู่รับใช้พระเดชพระคุณหลวงพ่อบางที่ต้องอยู่รับใช้ท่านถึงตีหนึ่งตีสอง กลับมานั่งเขียนหนังสือบ้างอ่านหนังสือบ้าง อ่านๆอยู่ก็นั่งหลับไปเฉยๆ พอนั่งหลับได้สองสามชั่วโมง พอใกล้จะตีสี่ระฆังตีก็ต้องตื่นไปรับหลวงพ่อเพื่อไปทำวัตรแล้ว  ดังนั้นเมื่อต้องทำอย่างนี้เป็นประจำทำให้เกิดความเคยชินว่านอนก็ได้ไม่นอนก็ได้

            ดังนั้นพอมาอยู่ที่ศูนย์เวฬุวัน พอเราทำงานเสร็จปุ๊ป เราก็เพลีย นั่งไปนั่งมาก็ผลอยหลับไปเอง พอทีนี้เราเห็นว่าวันที่หนึ่งทำได้ วันที่สองทำได้ วันที่สามทำได้ ก็เลยมีความรู้สึกว่าอยากลองดูซิว่าถ้าทำตลอดพรรษามันจะเป็นอย่างไร เพราะเคยได้อ่านหนังสือมาหลายเล่ม ครูบาอาจารย์ท่านก็ว่าการถือเนสันชิกังคะมันดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ก็เลยนึกอยากลองดู เพราะมันก็ดีเพราะจะทำให้เราตื่นเร็ว ก็เลยเป็นการถือเนสันชิกอย่างไม่ตั้งใจ

            แต่พอเริ่มวันที่สามที่สี่เราก็รู้สึกปวดหัวมาก ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดต้นคอ ทรมานมาก เวียนหัวมาก จะเดินไปไหนก็เวียนหัวตลอด มีความรู้สึกอยากจะอาเจียนอยู่ตลอด  แต่พอผ่านไปถึงวันที่เจ็ดถึงรู้สึกว่าค่อยยังชั่ว เริ่มชิน ร่างกายเริ่มปรับตัวได้ สติก็รู้สึกว่าดีขึ้นมาก มันปรับของมันเอง  เราไม่ต้องไปปรับอะไรมันเลย พอเราจะลุกจะนั่งไปตรงไหน สติมันก็จะได้ของมันเอง มันปรับของมันเอง เราไม่ต้องไปคอยระวัง คอยพยายามที่จะรักษาจิต ความเพียรที่ต้องคอยรักษาจิตก็ไม่ต้องเพียรพยายามอะไรแบบนั้น แต่มันจะรู้ มันจะปรับของมันเอง อินทรีย์มันปรับของมันเองอย่างอัตโนมัติ จะลุก จะนั่ง จะเดิน จะยืน จะนอน จะพูดอะไร มันจะเข้าล๊อกเข้าจังหวะของมันเอง ไม่ต้องไปฝืนกำหนด มันเข้าที่ มันจะรู้ตัวของมันเองหมด เป็นอย่างนั้นไปจนตลอดพรรษา

            ทีนี้ไม่รู้สาเหตุว่ามันเป็นเพราะร่างกายอ่อนเพลียไปหรือเปล่าไม่ทราบ มีอยู่วันหนึ่งซึ่งเป็นวันที่ใกล้จะออกพรรษาแล้ว  พอเราสวดมนต์ทำวัตรเช้าเสร็จ เราก็กลับเข้าไปนั่งอยู่ในห้อง ทำโน่นทำนี่ แล้วก็เตรียมที่จะออกไปนำญาติโยมแผ่เมตตา ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณหกโมงเช้า หลังจากอาตมาเข้าห้องน้ำเสร็จ อาตมาก็ออกมาครองผ้า ครองจีวร พาดผ้าสังฆาฎิ รัดผ้ารัดอก พอครองผ้าเสร็จอาตมาก็นั่งลงกับพื้น แล้วก็ค่อยๆเอื้อมมือไปหยิบถ้วยชาขึ้นมาจิบ พอค่อยๆวางถ้วยชาลงไป มันเหมือนกับว่าลานมันหยุด เหมือนเรามีของเล่นแล้วเราไขลานมัน พอสุดลานแล้วลานมันหยุด ซึ่งตอนนั้นสติของอาตมาดีมาก

ทีนี้พอมันหยุดปั๊ป  ตาเรายังเห็นอยู่สติเรายังมีอยู่ จิตเรายังมีอยู่ ตัวรู้เรายังมีอยู่ แต่สิ่งที่เราไม่รู้คือเราไม่รู้ว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเราอยู่ไหน การที่จะเคลื่อนไหวไปมาของเราไม่มี  อาตมาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ขยับตัวก็ไม่ได้ หายใจเข้าก็ไม่ได้ หายใจออกก็ไม่ได้ แต่จิตก็ยังคงรับรู้อยู่ เพราะในขณะนั้นจิตรับรู้ได้ว่า ในขณะนั้นมีกาบินอยู่บนหลังคา ร้อง กา กา กา อยู่ ประมาณสองสามตัว เราได้ยินเสียงกาชัดเจน  ส่วนตาเราก็ยังเห็นอยู่ เพราะตาเราเห็นสวิตพัดลมอย่างชัดเจน แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวใดๆได้ เราจึงตั้งสติ เอ๊ลมหายใจเราอยู่ไหน ทำไมเราหายใจเข้า หายใจออกไม่ได้  มันมีความรู้สึกว่า ก็ไม่มีใครเอาอะไรมาอุดจมูกเรา แต่ทำไมเราหายใจไม่ได้ ก็เกิดความตกใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น นี่เรากำลังจะตายหรือ

            ก็มาคิดว่า เคยอ่านเจอว่าคนใกล้ตาย ว่ามีคนที่เคยตาย แต่ฟื้นขึ้นมาได้ และในภาวะที่เขาเป็นอยู่อย่างนี้เขาก็ได้ยินเสียงกา เราก็คิดว่า เอ๊ นี่เราต้องมาตายแล้วหรือ หลวงพ่อท่านอุตส่าห์ส่งเรามาที่ศูนย์เวฬุวัน ให้เรามานำพาญาติโยมสวดมนต์ไหว้พระ มาสอนเด็ก มาสอนนักเรียน แต่เรามาแล้วเราไมได้ทำประโยชน์อะไรเลยเราก็ต้องมาตายแล้วหรือ แล้วเราตายขึ้นมาก็ต้องเป็นภาระให้กับญาติโยมที่นี่อีก บวชมาจะสามพรรษาแล้ว ยังไม่ได้ทำคุณประโยชน์อะไรเลย ก็ต้องมาตายแล้วหรือ

            ตอนแรกอาตมารู้สึกตกใจมากเพราะกลัว แต่มันรู้สึกเหตุการณ์มันไวมาก แค่ช่วงเสี้ยวอึดใจเดียว มันคิดอะไรได้หลายอย่างมากมาย พอมาช่วงกลางก็กลับคิดได้ว่าความตายนี่ยังไงก็หนีไม่พ้น เราเกิดมาก็ต้องตายกันทุกคน รวยก็ตาย จนก็ตาย ดีก็ตาย ชั่วก็ตาย ต้องตายกันทั้งนั้น ไม่มีใครหลีกหนีความตายไปได้ เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วเรามีความรู้สึกว่าความกลัวตายของเราลดลง ลดลง แล้วในขณะเดียวกันทำให้เรามีความรู้สึกใจชื้นขึ้นมาหน่อยตรงที่ว่า ทุกคนต้องตายทั้งนั้น ยังไงเราก็ต้องตาย เมื่อรู้สึกได้อย่างนี้ก็เริ่มไม่กลัวตาย  แต่ก็ยังไม่อยากตาย เพราะคิดได้ว่าเรายังไม่ได้สร้างความดีอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลย รู้สึกเสียดายชีวิตที่เราเกิดมาเหลือเกิน

            ในความรู้สึกตอนนั้นไม่อยากได้อะไรเลย เงินร้อยล้านสิบล้านก็ไม่อยากได้ เมื่อสมัยก่อนตอนที่อาตมายังไม่ได้บวชยังเป็นฆราวาสอยู่ มีความคิดอยากจะได้รถเบนซ์ อยากมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาส อยากมีเมียสวยๆ อยากมีโน่น อยากมีนี่ แต่พอมาถึงตรงนี้แล้ว รู้สึกว่ามันไม่อยากได้อะไรเลย มีแค่ไหนก็เอาไปไม่ได้ มีแต่บุญแต่บาปเท่านั้นที่จะติดตัวไปได้ นอกจากนั้นเอาไปไม่ได้เลย เมื่อเห็นตรงนี้แล้ว ทำให้เราเห็นสัจจธรรมชัดเจนมากขึ้น

            เราจึงคิดได้ว่าเราอยากอุทิศชีวิตให้กับพระศาสนา อุทิศให้พระพุทธเจ้า จึงอธิฐานขึ้นว่า หากบุญของข้าพเจ้ามี ขอให้ข้าพเจ้าจะได้อยู่สร้างบุญกุศล ได้สร้างความดีตอบแทนพระศาสนา ได้สนองงานให้กับพระอุปัชฌาย์ ได้สนองงานให้กับพระอุปัชฌาย์ ขอให้ข้าพเจ้าอย่าพึ่งตาย ซึ่งในขณะนั้นคล้ายๆกับว่าลมหายใจมันเริ่มเหลือน้อยลงๆ ความรู้สึกในตอนนี่เปรียบเหมือนกับเรากำลังดำน้ำอยู่ใต้ก้นมหาสมุทรกำลังจะหมดลมหายใจแล้ว แล้วเรากำลังเอาเท้าถีบตัวเองเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่ในสภาวะนั้นอาตมาไม่ได้ทุรนทุราย อาตมานิ่งอยู่  จิตนิ่งอยู่  กายนิ่งอยู่แต่บังคับกายไม่ได้  มีแต่ความคิดที่จะพยายามกระเสือกกระสนที่จะหายใจให้ได้ พยายามจะฝืนจิตเพื่อที่จะหายใจ แต่ก็หาลมหายใจไม่เจอ หาตัวเจตสิกที่จะมาควบคุมไม่เจอ

            พอมันรู้สึกว่าอีกผึงเดียวมันใกล้จะขาด เสียงกาก็ค่อยๆห่างออกไปๆ เป็นเวลาเดียวกันกับที่อาตมาตั้งจิตอธิฐานว่าหากบุญของข้าพเจ้ามี ขอให้ข้าพเจ้าจะได้อยู่สร้างบุญกุศล ได้สร้างความดีตอบแทนพระศาสนา ได้สนองงานให้กับพระอุปัชฌาย์ เมื่องานบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ถ้าต้องตายก็ไม่เสียดาย แต่ตอนนี้ขอให้ข้าพเจ้าอย่าพึ่งตาย 

            อาตมาก็ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ ตั้งจิตว่า หลวงพ่อครับช่วยกระผมด้วย พออาตมาตั้งจิตถึงหลวงพ่อ พอนึกถึงท่านเท่านั้นอาตมาก็ ผึงพรวดออกมา เหมือนทะลึ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วอาตมาก็ได้กลิ่นยานัตถุ์ของท่าน ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อยังนัตถุ์ยานัตถุ์อยู่  พอได้กลิ่นยานัตถุ์แล้ว อาตมารู้สึกทันทีเลยว่า เราไม่ตายแล้ว

            จากนั้นอาตมาก็มานั่งพิจารณาว่าอีกนิดเดียว ถ้าไม่ได้ ผึง….พรวดออกมา เอาเป็นว่าแค่เสี้ยววินาทียังไม่พรวดออกมา อาตมาคงตายแล้ว

            อาตมาก็พิจารณาต่อไปว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรากันแน่ อาตมาจึงลุกออกไปถามเณรจิรยุทธว่า เณรได้ยินเสียงกาไหม มีใครได้ยินเสียงกาไหมเณรก็ตอบว่า ไม่ได้ยินครับ เสียงกาที่ไหนครับ” “เอ๊ ไม่ได้ยินเสียงการ้องเหรอ เมื่อสักครู่มีเสียงการ้องอยู่ไม่ได้ยิ่นเหรอเณรก็ย้ำคำเดิมว่า ไม่ได้ยินครับ ผมนั่งสมาธิอยู่ ไม่ได้ยินเสียงกาเลยครับ  เมื่อเณรตอบแบบนี้แล้ว อาตมาก็กลับมาคิดว่า เอ๊ หรือว่าจะได้ยินเฉพาะคนใกล้ตาย คนที่ไม่ตายไม่ได้ยินเราก็เลยเดินกลับมาที่ห้อง มานั่งทบทวนและคิดว่า นี่คือสิ่งที่เราได้ สิ่งที่เราได้เป็นบทเรียนบทเรียนหนึ่งที่ทำให้เรามีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องของชีวิต ในเรื่องของความตาม ทำให้อาตมาเข้าใจถึงคำว่า มันไม่เที่ยง

            และจุดนี้เองทำให้อาตมาไม่คิดที่จะสึกอีกต่อไป มีแต่ความคิดที่อยากจะสร้างความดีตอบแทนพระพุทธศาสนา ตอบแทนคุณพระอุปัชฌาย์ คิดแต่อยากจะช่วยเหลือประชาชน อยากช่วยเหลือสังคม เป็นจุดที่ทำให้อาตมาอยากพัฒนาศูนย์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป

            พอออกพรรษา ต้นไผ่เกิดตายหมด อาตมาต้องเอารถไถมาไถทิ้งไป ทำให้กลายเป็นพื้นที่โล่งๆ จนทำให้รู้สึกว่าแล้งมาก เหมืออาตมาอยู่ในทะเลทราย และเริ่มที่จะรู้คุณค่าของต้นไม้ มองไปเห็นต้นไม้ที่มีอยู่ไม่กี่ต้นภายในศูนย์ก็รู้สึกว่ามันมีคุณค่าเหลือเกิน ทำให้อาตมาอยากปลูกต้นไม้ให้เกิดความร่มรื่นขึ้นมา จากนั้นจึงเริ่มปลูกต้นไม้ และดูแลต้นไม้อย่างจริงจัง

            หลวงพ่อท่านได้เดินทางมาทอดกฐิน ทำให้อาตมาและชาวขอนแก่นดีใจมาก การทอดกฐินครั้งนั้นเป็นการทอดเพื่อนำเอาไฟฟ้าเข้าศูนย์ ได้เงินสามแสนกว่าบาท หลวงพ่อท่านได้แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจน ที่จะพัฒนาศูนย์ให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อตอบแทนบุญคุณหลวงพ่อดำ นำของดีมาคืนสู่ขอนแก่น และขอให้ญาติโยมมาช่วยกันพัฒนาศูนฯ ซึ่งเมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ความคิดจะกลับวัดอัมพวันเพื่อที่จะสึกก็ไมเกิดมีขึ้นอีกแล้ว มีแต่ความรู้สึกที่รักหลวงพ่อ อยากช่วยเหลือท่านพัฒนาสังคม อยากอยู่พัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันสนองคุณพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เหมือนกับที่หลวงพ่อท่านเคยบอกกับอาตมาไว้ว่า ท่านสร้างศูนย์เพื่อสนองคุณหลวงพ่อดำ  หลวงพ่อสร้างความดี อุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านก็จะดีใจ เมื่ออาตมานึกขึ้นได้อย่างนี้ ก็เกิดความรู้สึกที่อยากเห็นหลวงพ่อท่านดีใจ  จึงคิดที่จะอยู่พัฒนาศูนย์ พัฒนาเยาวชนให้สมตามเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านต่อไป

 

กลุ่มบุคคคลผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

            ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน  สามารถพัฒนา มีความเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ มีกลุ่มบุคคลที่เสียสละทั้งเวลาแรงกายแรงใจ และแรงปัจจัย ให้ความสนับสนุนและทำงานอยู่เบื้องหลัง รวมตัวร่วมใจกันในรูปของคณะกรรมการศูนย์ และคณะกรรมการมูลนิธิธรรมเพื่อเยาวชน

                        เพื่อที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมาของกลุ่มบุคคลผู้ทำงานปิดทองหลังพระกลุ่มนี้ ผู้เขียนจึงได้ขอสัมภาษณ์คุณไชยา คุณทิพภาพร เกษมวิลาศ,  คุณชัย คุณวิมล วีระมโนกุล, คุณพร  เชื้อบุญเกิด และคุณเพ็ชรจิม เตชอภิชาติ ซึ่งทุกท่านร่วมกันให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ดังนี้

            คุณไชยา เกษมวิลาศ หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในนามของ เฮียฮ้อได้เข้ากราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่วัดอัมพวัน ครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.. ๒๕๓๒ ได้ประทับใจในปฏิปทา และความเมตตาของท่าน จนกระทั่งปี พ.. ๒๕๓๕ ก็ได้ทราบข่าวจากชาวตลาดขอนแก่นที่ลือกันอย่างมากว่า ได้พากันเดินทางไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดอัมพวันกันเป็นจำนวนมาก โดยมีการจัดรถตู้รับส่งกันทุกอาทิตย์ และคำเล่าลือก็ยิ่งมากขึ้นๆทุกที และได้รู้ข่าวว่าหลวงพ่อจะมาสร้างสาขาของท่านอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ทำให้รู้สึกดีใจมาก ที่ชาวขอนแก่นจะได้สิ่งดีๆ ที่หลวงพ่อท่านจะมอบให้

            จนกระทั่งวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๓๗ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน คุณลุงบุญส่ง อินทวิรัตน์ ก็ได้ขอคำปรึกษาจากคุณไชยา เรื่องศาลาอำนวยการ (ศาลาพระพุทธชินราช) ว่ามีปัญหาเรื่องการก่อสร้าง เพราะช่วงหนีงาน ห้องน้ำก็ยังไม่มีโถส้วม และอยากเตรียมความพร้อมไว้รับหลวงพ่อและคณะติดตาม ที่ได้ข่าวว่าจะเดินทางมาพักที่สวนเวฬุวัน คุณไชยา จึงได้เดินทางไปสวนเวฬุวันเป็นครั้งแรก และเริ่มงานชิ้นแรก คือ สั่งโถส้วม ๔ โถ และตามช่วงมาทำจนเสร็จ

            จากนั้นอีกสองวันเมื่อเข้าไปเห็นว่า น้ำบาดาลซึ่งตอนนั้นเพิ่งขุดใช้ใหม่ๆ น้ำออกมายังแดงแจ๋ใช้การยังไม่ได้ ยังคงต้องอาศัยน้ำของทางทหารค่ายศรีพัชรินทร์ คุณไชยาและเพื่อจากชมรม ๗๕ จึงได้สั่งโอ่งแดงมาแปดลูกและช่วยกันออกค่าใช้จ่าย

            ต่อจากนั้นในเดือนมีนาคม พ.. ๒๕๓๗ ทางคุณทิพาพร เกษมวิลาศก็ได้ชวนคุณวิมล วีระมโนกุลไปปฏิบัติธรรมที่ศูนย์เวฬุวัน เพื่อไปเป็นเพื่อนลูกสาวที่จะเข้าปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ ทำให้คุณไชยาและคุณชัย   ต้องตามไปรับไปส่งและคอดูแลภรรยาและลูก ทำให้เกิดความผูกพันกับสวนเวฬุวันขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง

            พอวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๓๗ ซึ่งเป็นวันอัญเชิญพระพุทธชินราช จากวัดอัมพวัน  มาประดิษฐานที่ศาลาอำนวยการ คุณไชยา คุณชัย และเพื่อนๆ จากชมรม ๗๕ ได้พากันมาช่วยกันยกพระประธาน และจากการช่วยเหลืองานกันในวันนี้ ทำให้ได้รู้จักกับกรรมการคนสำคัญอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพอน เชื้อบุญเกิด

            จากการที่เข้ามาที่ศูนย์ในช่วงแรก ทำให้มีความสนิดสนมกับพระนริศ ซึ่งเป็นพระภิกษุจากวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ที่เข้ามาดูแลศูนย์ในช่วงแรก และจากการวางตัวที่สำรวมเรียบร้อย ใจเย็น การให้หลักธรรมคำสอนแนะนำการปฏิบัติที่เข้าใจง่ายของท่าน ทำให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสและสงสารท่านที่ต้องมาอยุ่ในที่กันดาร และมีปัญหามากมายโดยเฉพาะการไม่ให้ความเคารพท่าน เพราะเห็นว่าท่านเป็นพระภิกษุนวกะ จึงเป็นเหตุให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่จะคอยให้การสนับสนุน คอยปกป้อง ให้กำลังใจ และดูแลท่าน

            เมื่อความผูกพันมีมากขึ้น คณะกรรมการกลุ่มแรกก็เริ่มที่จะพากันเข้าศูนย์กันบ่อยครั้งขึ้น และมักจะได้พบกับอาจารย์นวลจันทร์ (อาจารย์ไก่) และอาจารย์นงนภัส เลิศศึกษากุล (อาจารย์แฝด) ที่เดินทางมาถวายภัตตาหารต่อพระสงฆ์ที่สวนเวฬุวันเป็นประจำทุกวันไม่เคยขาดนับตั้งแต่เริ่มมีพระภิกษุมาอยู่ที่ศูนย์

            ต่อจากนั้นเมื่อใกล้วันเข้าพรรษา พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้ส่งพระภิกษุ ๕ รูป และสามเณร ๑ รูป มาอยู่ดูแล และจำพรรษาที่สวนเวฬุวัน และพระภิกษุที่หลวงพ่อได้ให้มาเป็นหัวหน้าคณะในครั้งนั้นก็คือ พระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร นั่นเอง

            ตอนนั้นยังจำได้ว่า เมื่อเห็นพระชุดนี้แล้วก็นึกกันว่า หลวงพ่อส่งพระหนุ่มๆมาทั้งนั้นเลย ไม่เห็นส่งพระเถระผู้ใหญ่มาเลย ก็เลยยังรู้สึกเฉยๆกัน ไม่ได้สนใจว่าทางการเป็นอย่างไร ไม่เป็นทางการเป็นอย่างไร

            แต่เมื่อเข้ามาที่ศูนย์ทุกครั้ง ก็ยิ่งเพิ่มความศรัทธาต่อพระภิกษุชุดแรกนี้มากขึ้นทุกทีๆ เพราะว่าพระท่านขยันกันเหลือเกิน ไม่เคยเห็นท่านว่างงานกันเลย ทำกิจวัตรกันตลอดเวลาอย่างเคร่งครัด ทั้งทำวัตรสวดมนต์ แบกปูนช่วยกันก่อสร้าง ถางหญ้า ทำงานกันสารพัด กลางวันแดดร้อนๆก็ไม่ได้หลบจำวัดกันเหมือนที่เห็น จึงเกิดความเคารพศรัทธาต่อพระภิกษุชุดนี้มาก

            และที่พิเศษอีกประการหนึ่งก็คือ ความสำรวม การนุ่งห่มจีวรที่เรียบร้อย การมีมารยาท การวางตัวที่เหมาะสม เช่น การบิณฑบาต การฉันก็สำรวม การนั่งสวดมนต์ไหว้พระหรือนั่งสนทนากับญาติโยมก็สำรวมมาก

            เมื่อคณะกรรมการได้เห็นภาพเช่นนี้อยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก็เกิดความประทับใจ อยากช่วยส่งเสริมท่าน จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้พวกคณะกรรมการต่างพร้อมใจกันเข้าไปช่วยเหลือ ไปคอยถวายข้าวถวายน้ำ ถวายสิ่งที่ขาดเหลือ และช่วยเป็นแรงงานรับใช้ท่าน จึงเกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกับพระภิกษุสงฆ์ที่ศูนย์กันมากขึ้น

            และเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มคณะกรรมการขึ้นก็คือการสร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังเล็ก ซึ่งเป็นหลังแรก โดย อาจารย์ ดร.ลำใย โกวิทยากร ได้ชักชวนคุณไชยาให้ร่วมกันสร้างศาลาหลังนี้ขึ้น เพื่อรองรับการอบรมปฏิบัติธรรมในอนาคต จึงได้เกิดการชักชวนกันมากขึ้นของกลุ่มคนขอนแก่น ที่ระดมกันมาช่วยกันสร้างศาลาหลังนี้จนเสร็จ จนทำให้เกิดความสนิทสนมกันมากขึ้น

            ในสมัยนั้นถนนทางเข้าศูนย์ ยังคงเป็นดินลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่ออยู่ ซึ่งถ้าหากฝนตั้งเค้าให้เป็นแล้วละก็ ต้องรีบพากันเดินทางกลับ เพราะถ้าฝนลงมาเมื่อไหร่ น้ำก็จะชัง ทางก็จะขาด ทำให้รถไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ แต่ด้วยความเป็นห่วงพระ ถึงแม้ฝนจะตกฟ้าจะร้อง ก็ยังพากันเข้าไปถวายภัตตาหารพระ เพราะกลัวพระท่านจะอด ไม่มีอะไรจะฉัน

            และเมื่อมีการอบรมเป็นหมู่คณะกันมากขึ้น ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการหุงหาอาหาร ที่ต้องทำให้เพียงพอกับคณะที่มาอบรม พระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ก็มาขอคำปรึกษากับอาจารย์ลำใย , คุณทิพาพร , คุณเพ็ชรจิม , คุณสถาพร , คุณวิมล , คุณบัญญัติ , และคุณแก้ว เรื่องจะทำข้าวต้มเลี้ยงตอนเช้า และทำอาหารเลี้ยงเพลซึ่งต่างก็ยังทำกันไม่เป็น จึงต้องจ้างเขาทำมาจากข้างนอก ไปรับและขนเข้ามาที่ศูนย์ตั้งแต่ตอนตี ๔ แต่ด้วยถนนหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อมาก ทำให้ข้าวต้มที่ขนเข้ามามีการหก และไม่ตรงเวลา รวมทั้งปัญหาจากการจ้างเขาทำ ทำให้ได้ของไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป จึงได้ปรึกษากัน หาวิธีที่จะทำกันเอง ก็เที่ยวไปหาหม้อและอุปกรณ์ต่างๆ มากันเอง คุณพอนกับพระครูก็ไปขนอุปกรณ์ทำครัว เช่น หม้อใบใหญ่ จานชามช้อน ฯลฯ มาจากวัดอัมพวัน ส่วนคุณสถาพร คุณบัว ก็เที่ยวไปถามวิธีทำข้าวต้ม แล้วมาลองทำหม้อใหญ่ๆ ทีละมากๆ กัน พอเห็นว่าพอทำกันได้จึงได้เริ่มเข้าไปช่วยกันทำกับข้าวที่โรงครัวมาตั้งแต่บัดนั้น

            เมื่อศาลาหลังเล็กเสร็จ ก็เริ่มมีคณะอบรมมากขึ้น คุณไชยา ก็ต้องเข้าเป็นวิทยากรในการกล่าวนำ กล่าวสมาทานศีลห้า ศีลแปด ขอกรรมฐานจากอาจารย์ แล้วก็ปรึกษากันกับพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ หาลำดับขั้นตอนต่างๆ ว่าวิธีการของวัดอัมพวันทำกันอย่างไร การถือพานเข้าไปหา เข้าไปกราบครูบาอาจารย์กันอย่างไร ก็ช่วยท่านพระครูจัดรูปแบบ และพัฒนามาเป็นรูปแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน

            เมื่อมีการอบรมมากขึ้น งานก็มากขึ้น เช่นเรื่องเสื้อผ้า การลงทะเบียน การจัดที่พัก การหุงหาอาหาร การจับจ่ายซื้อของ คุณไชยาจึงคิดหาคนเข้ามาช่วยท่านพระครู จึงนำสมุดเล่มดำ ที่เก็บเป็นอนุสรณ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ เที่ยวไปสอบถามผู้ปฏิบัติธรรม และญาติโยมที่เข้ามาที่ศูนย์ จดที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ซึ่งชื่อแรกเลยก็คือ ดร.ลำใย อาจารย์ถาวร โกวิทยากร และจดมาเรื่อยๆ แล้วก็ติดต่อไป เมื่อได้เล่าถึงปัญหาต่างๆให้ฟัง หลายท่านก็จะปวารณาตัวเข้าช่วยเหลือทันที เช่น คุณเนาว์  รัตนพันธุ์ , คุณธนู ปัญญาเอก, คุณสมิทธิ สุทธิยาภรณ์ และยังมีอีกหลายท่านที่ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในคณะกรรมการ และช่วยพัฒนางานของศูนย์ เช่น คุณสมอาจ คุณอัญชลี ธีรภานุ , พลตรีขจร จิตรวิเศษ , คุณชัยสิทธิ์  สิทธิอมรพร , คุณชัยยงค์ ศรีอิสาน , คุณวิชัย วิพัฒน์เกษมสุข , อาจารย์ถาวร ตรงเที่ยงธรรม , อาจารย์อิทธิพร ธงอินทรเนตร , ..เฉลิม  ยิ้มสมบูรณ์ , คุณปราณี ไชยเชษฐ์ , คุณอุ่น สร้อยโสม และอีกหลายท่านที่ผู้เขียนต้องขอกราบขออภัยที่ไม่สามารถนำชื่อของท่านกรรมการผู้มีอุปการคุณต่อศูนย์ฯมาลงได้ทั้งหมด

            การรวมกลุ่มเป็นคณะกรรมการก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีกิจกรรมก็จะโทรศัพท์บอกกัน พากันมาช่วยเหลือ ซึ่งหน้าที่นี้ ในช่วงแรกๆ คุณไชยา จะเป็นผู้คอยประสานงาน แต่ต่อมาบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งได้มาเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ คือ คุณธนวัฒน์ จิรวุฒิเศรษฐ์ (อังกูร  พินพิสิทธิ์)

            ส่วนเรื่องวิทยากรฆราวาสที่จะมาช่วยเหลืองานด้านการอบรม ช่วยพระแนะนำกรรมฐาน ดูแลผู้ปฏิบัติ ก็ได้อาจารย์รัติกร สาสิมมา เข้ามาช่วยเหลืองานด้านนี้ก่อน และก็ได้อาจารย์เพ็ญศรี ศรีจินดา  ที่เข้ามาช่วยงานที่ศูนย์บ่อยมาก และได้แนะนำอาจารย์สายยุทธ รัตนวิสุทธิพันธ์ มาช่วยอีกคน ต่อมาเมื่อศาลาใหญ่สร้างเสร็จก็ได้วิทยากรสำคัญอีกท่านหนึ่งเข้ามาช่วยงานด้านนี้ ท่านก็คือ อาจารย์ยุพิน  แหวนคุณ

            เมื่อมีการอบรมมากขึ้น ศาลาหลังเล็กเริ่มคับแคบ ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ท่านพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ จึงมีความคิดที่จะสร้างศาลาหลังใหญ่ ทางคณะกรรมการจึงได้เกิดการรวมตัวในรูปแบบของคณะกรรมการที่ชัดเจน และมีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องการดำเนินงานการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังใหญ่อย่างสม่ำเสมอ มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนขึ้น

            และเมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อมาทอดกฐินในปี พ.. ๒๕๓๘ ท่านก็มีความคิดที่จะจัดตั้งมูลนิธิ โดยท่านให้ชื่อว่า มูลนิธิธรรมเพื่อเยาวชนซึ่งได้ดำเนินการจดทะเบียนโดยคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาติให้จัดตั้งในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.. ๒๕๓๙  เลขทะเบียน ขก.๓๖  อนุญาตที่ ต. ๓๐๑/๒๕๓๙ ลว. ๑๙ กรกฎาคม พ.. ๒๕๓๙  ความผูกพันของคณะกรรมการที่มีต่อศูนย์ปฏิบัติธรรมนั้น ต่างคนต่างมีความผูกพันมาก มีความห่วงใยอยากจะช่วยเหลือศูนย์อยู่เสมอ หากใครคนหนึ่งโทรศัพท์ไปชักชวนก็จะรีบมากันทันที ถึงแม้บางทีมีพายุเข้ามา ลมพัดมาแรงมาก ก็กลับไม่ห่วงบ้านตัวเอง เป็นห่วงศูนย์ว่าพระภิกษุในศูนย์จะอยู่กันได้ไหม ข้าวของเครื่องใช้จะเสียหายหรือเปล่า ก็จะรีบพากันไปที่ศูนย์ ยิ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านคอยย้ำเสมอว่า ศูนย์เป็นของชาวขอนแก่นทุกคน ให้ช่วยกันดูแลช่วยเหลือ อย่าทอดทิ้งให้กรรมการทุกคนต่างก็ซาบซึ้งในความเมตตาของท่าน จึงเป็นเหตุให้การช่วยเหลือกิจการงานด้านต่างๆ ของศูนย์ดำเนินไปด้วยดี

 

            แรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้คณะกรรมการมีความศรัทธา เข้าไปช่วยเหลือกิจการงานของศูนย์

            . ได้เห็นพระภิกษุจากวัดอัมพวัน ในช่วงเริ่มแรกของการสร้างศูนย์ที่ขยันมาก เห็นแล้วก็เกิดความประทับใจ อยากจะช่วยเหลือรับใช้ท่าน

            . แนวทางของหลวงพ่อที่จะสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ เพื่อสร้างคน พัฒนาจิตใจคน ปลุกคนให้ตื่น เสกคนให้เป็นงาน เป็นการสร้างสรรค์สังคมอย่างแท้จริง ซึ่งน่าสนับสนุน

            . หลวงพ่อได้ให้หลักธรรมคำสอนที่ง่ายๆ ฟังแล้วใกล้ตัว มีประโยชน์สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น

            . จากการที่เห็นพระที่ดี ทำให้สะท้อนไปถึงอุปัชฌาย์อาจารย์ ต้องมีอะไรที่ดีๆแน่นอน ถึงได้สอนลูกศิษย์ได้ดีขนาดนี้ มีความขยัน มีความกตัญญู มีความอดทนเมตตากรุณา ทำงานให้กับสังคมอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย

            . และเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจต่อญาติโยม และคณะกรรมการทุกท่านที่เข้าไปช่วยงานก็คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านไม่ให้มีการเรี่ยไร แจกซองขอรับการบิรจาคต่างๆ หรือให้เอาซองไปแจกญาติพี่น้องให้ช่วยกันทำบุญเหมือนที่อื่น มีแต่จะนำเงินส่วนตัวของท่านมาช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก ทำให้ทุกคนมาช่วยงานกันได้อย่างสนิทใจ ไม่อึดอัด

            . ได้เห็นประสบการณ์ใหม่ๆ ในเรื่องกฎแห่งกรรม จากผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้เข้าไปปิบัติธรรมที่ศูนย์ แล้วมาเล่าประสบการณ์ชีวิตจริง ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรมมากขึ้น มีความเกรงกลัวละอายต่อบาปมากขึ้นทำให้จิตใจดีมากขึ้น

 

            ดังนั้นทางคณะกรรมการจึงขอเชิญชวนท่านญาติธรรมทุกท่านที่มีความศรัทธาต่อปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคล พระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร การดำเนินงานด้านต่างๆของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ได้โปรดเข้ามาช่วยเหลืองาน รับใช้หลวงพ่อ รับใช้พระพุทธศาสนา พัฒนาคุณธรรมและจิตใจที่ดีให้กับเยาวชนลูกหลานของท่าน เพื่อที่สังคมไทยจะรุ่งเรืองวัฒนาสถาพรต่อไป

 

ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวันเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

            หลังจากที่พระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร มีปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดทั้งพรรษา จนทำให้ท่านได้รับผลแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ ได้เห็นตัวตาย ทำให้คลายทิฎฐิ เกิดดำหริชอบมีความคิดที่ดีงาม อยากที่จะประกอบกุศลสร้างแต่คุณงามความดีทำให้ท่านเริ่มที่จะพัฒนาศูนย์อย่างจริงจังให้สมกับเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ ทำให้ศูนย์เวฬุวันเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาคารสถานที่สิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการเจริญเติบโตของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับดังนี้

            จากวันที่ ๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๓๖  ซึ่งเป็นวันแรกที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคลได้เดินทางเข้ามาสู่บริเวณที่ดินผืนแรกของศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ได้ร่วมกันมอบถวายที่ดินต่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อจำนวน ๒๒ ไร่ และได้ส่งพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ ฐานุตตโร เข้ามาบริหารงาน ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรม  นับตั้งแต่นั้นมา อาหาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้ค่อยดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย และได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ร่วมพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ที่ต่างก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ  ได้เดินทางมาช่วยงานที่ศูนย์ และรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นรูปแบบคณะกรรมการผู้ร่วมพัฒนาศูนย์ และต่อมาในภายหลังได้ตั้งเป็นคณะกรรมการมูลนิธิ โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้ตั้งชื่อให้ว่า มูลนิธิธรรมเพื่อเยาวชน

            ในเวลาต่อมาท่านพระครูสมุห์ธีรวัฒน์ และคณะผู้ร่วมพัฒนาศูนย์  มีความคิดที่จะเพิ่มเนื้อที่ของศูนย์ฯ เพื่อการขยายตัวต่อไปในอนาคต ดังนั้น ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.. ๒๕๓๘ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้เดินทางมาที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน เพื่อรับผ้าป่าสามัคคี ที่มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันทอดถวายเพื่อจัดซื้อที่ดินให้กับทางศูนฯ ในวันนั้นหลวงพ่อยังได้มอบทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มเติมในกองผ้าป่า และยังได้มอบเงินเป็นทุนทรัพย์ในการจัดซื้อที่ดินอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งในปัจจุบัน ทางศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๔๖ ไร่ ๓ งาน ๘๗ ตารางวาซึ่งเพียงพอต่อการขยายตัวของสิ่งปลูกสร้างต่อไปในอนาคต

            ปี พ.. ๒๕๓๖ - ..๒๕๓๗  เป็นช่วงของการบุกเบิก ทางศูนย์ได้ปรับปรุงพื้นที่และพร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างมากมายหลายรายการ ตั้งแต่สร้างกุฎิหลวงพ่อหลังแรก , สร้างศาลาอำนวยการ (ศาลาพระพุทธชินราช), ห้องน้ำชุดแรก ๒๐ ห้อง , สร้างโรงครัว ไว้สำหรับหุงหาอาหาร , สร้างศาลาปฏิบัติธรรมหลังเล็ก, สร้างเรือนพักกรรมฐาน(เรือนไม้แฝด), ทำถนนลูกรังเข้าศูนย์, สร้างแท้งค์กักเก็บน้ำ, และปรับปรุงขยายลานคอนกรีตรอบศาลาเล็ก

            ปี พ.. ๒๕๓๘  เป็นปีแห่งการพัฒนาให้ศูนย์มีความพร้อมที่จะเติบโต และเตรียมรองรับที่จะเปิดรับอบรมโครงการพัฒนาจิตตามคำสั่งของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ จึงได้ปรับปรุงและสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นอีกมากมายดังนี้ สร้างหอระฆัง, สร้างโรงอาหาร เพื่อใช้รองรับคณะที่จะเข้ารับอบรมพัฒนาจิต ,ขยายระบบประปา เพื่อให้มีน้ำพอเพียงสำหรับการอบรมในอนาคต ,ดำเนินการนำไฟฟ้าเข้าศูนย์ฯ เพื่อให้ศูนย์ฯมีไฟฟ้าใช้ และก่อสร้างที่พักสงฆ์ และฆราวาสขึ้นอีกมากมายหลายหลัง และที่สำคัญ ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เดินทางมาที่ศูนย์ เพื่อมาเป็นประธานยกคัตเอ๊าท์เพื่อเปิดการใช้ไฟฟ้าให้แก่ศูนย์อย่างเป็นทางการ  ซึ่งนำแสงสว่างและความเจริญมาสู่ศูนย์อีกระดับหนึ่ง

 


Visitors: 210,686